Page 72 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 72

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           53



                  เกิดจากตะกอนที่สะสมในทะเลหรือทะเลสาบน้ําจืด ได้รับความร้อนและความกดดันมาก ทําให้ชั้นหินคดโค้ง
                  และโก่งตัวขึ้นเป็นภูเขา
                                2) หินมหายุคมีโซโซอิก (อายุ 245 - 65 ล้านปีมาแล้ว)

                                   หินยุคไทรแอสสิค (อายุ 245 – 208 ล้านปีมาแล้ว) ประกอบด้วยหินกรวดมน หินดินดาน
                  หินทราย และหินปูนปนโคลน ซึ่งสะสมในทะเลสาบน้ําจืดและที่ลุ่มลําน้ําภายในหุบเขา พบทางซีกตะวันตกของภาค
                  เช่น บริเวณเขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ
                                   หินยุคจูแรสซิก (อายุ 208 – 146 ล้านปี) จนถึงยุคครีเทเซีส (อายุ 146 – 65 ล้านปี) ประกอบ
                  ไปด้วยชั้นหินสีแดง หินทรายแป้ง หินดินดาน หินกรวดมน ของกลุ่มหินโคราช อยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือ

                  ของแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์
                                   ส่วนหินกลุ่มโคราช ซึ่งเป็นกลุ่มหินที่พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นกลุ่ม
                  หินที่มีอายุครอบคลุมตั้งแต่หินยุคไทรแอสสิคจนถึงหินยุคครีเทเชียส ส่วนใหญ่เป็นหินตะกอนสีน้ําตาลแกมแดง

                  เกิดจากตะกอนที่สะสมในแอ่งทวีป แต่บางช่วงจะมีน้ําทะเลท่วมเข้ามาด้วย ลําดับชั้นหินของกลุ่มหินโคราช
                  วางตัวแบบไม่ต่อเนื่องบนหินยุคที่แก่กว่า โดยที่ส่วนล่างสุดมักพบชั้นหินกรวดมน ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 9 หมวดหิน
                  โดยมีลําดับหมวดหินจากชั้นล่างไปหาบน ได้ดังนี้
                                   2.1) หมวดหินห้วยหินลาด (Trhl) ประกอบด้วยหินทราย หินทรายแป้ง หินดินดานสีเทา

                  ซึ่งมีซากดึกดําบรรพ์ใบไม้ หอยสองฝา เรณูและสปอร์ และ Phytosaur มีอายุปลายยุคไทรแอสซิก หมวดหินนี้
                  วางตัวอยู่บนหินปูนยุคเพอร์เมียนแบบรอยชั้นสัมผัสไม่ต่อเนื่อง
                                   2.2) หมวดหินน้ําพอง (Trnp) เป็นหมวดหินล่างสุดของกลุ่มหินโคราชที่เริ่มมีสีแดง
                  โดยเฉพาะทางด้านตะวันตกของที่ราบโคราช ประกอบด้วยหินทรายแป้ง หินทราย และหินกรวดมนสลับกันเป็น

                  ชั้นหนาวางตัวต่อเนื่องจากหมวดหินห้วยหินลาด ในขณะที่บางบริเวณวางตัวอยู่บนหินปูนยุคเพอร์เมียนแบบ
                  รอยชั้นไม่ต่อเนื่อง หมวดหินนี้หนาประมาณ 1,465 เมตร
                                   2.3) หมวดหินภูกระดึง (Jpk) วางตัวอยู่บนหมวดหินน้ําพองหรือบนหินยุคเพอร์เมียนใน
                  บริเวณที่ไม่มีหมวดหินน้ําพอง ประกอบด้วยหินทรายแป้ง หินทรายสีเทาอมเขียว หินโคลน และหินกรวดมน

                  เนื้อปูนผสม มีซากดึกดําบรรพ์ชิ้นส่วนของกระดูกและฟันพลีสิโอซอร์ และกระดูกไดโนเสาร์ ความหนาของ
                  หมวดหินนี้ที่บริเวณภูกระดึงประมาณ 1,001 เมตร
                                   2.4) หมวดหินพระวิหาร (JKpw) ประกอบด้วยหินทรายเนื้อควอรตซ์ สีขาว มักแสดง

                  ลักษณะชั้นเฉียงระดับและมีชั้นบางๆ ของหินทรายแป้งสีเทาดําแทรก ความหนาของหมวดหินนี้แตกต่างกันใน
                  แต่ละบริเวณตั้งแต่ 56 - 136 เมตร
                                   2.5) หมวดหินเสาขัว (Ksk) ประกอบด้วยหินทรายแป้ง หินโคลน และหินกรวดมนปนทราย
                  มีชั้นหินค่อนข้างหนา ซึ่งความหนาของหมวดหินนี้ในบริเวณเสาขัวหนา 512 เมตร มีซากดึกดําบรรพ์หอย
                  กาบเดี่ยว หอยกาบคู่ และพวกไดโนเสาร์กินพืช คาดว่าหินมีอายุครีเทเชียสตอนต้น

                                   2.6) หมวดหินภูพาน (Kpp) มีลักษณะค่อนข้างเด่นโดยเฉพาะ ประกอบด้วยหินทรายปน
                  หินกรวดมนชั้นหนา ที่แสดงการวางชั้นเฉียงระดับ มีรายงานพบเศษชิ้นส่วนของกระดูกไดโนเสาร์จํานวน 2 - 3 ชิ้น
                  นอกจากนั้นยังพบว่ามีสารประกอบของพวกคาร์บอนเกิดอยู่ในหมวดหินนี้ด้วย ความหนาของหมวดหินนี้

                  ประมาณ 114 เมตร
                                   2.7) หมวดหินโคกกรวด (Kkk) ประกอบด้วยหินทรายแป้ง หินทราย และหินทรายแป้งปนปูน
                  หินกรวดมน มีซากดึกดําบรรพ์เศษชิ้นส่วนของไดโนเสาร์ชนิดกินพืช เต่า และปลา หมวดหินนี้มีความหนา
                  ประมาณ 709 เมตร
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77