Page 73 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 73

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           54



                                   2.8) หมวดหินมหาสารคาม (KTms) ประกอบด้วยหินทรายแป้ง และหินทราย มีชั้นโพแทช
                  ยิปซัม และเกลือหินหนาเฉลี่ย 200 เมตร หมวดหินนี้มีความหนาประมาณ 600 เมตร เกิดจากการสะสมตัวของแอ่ง
                  ซึ่งอาจแยกกันเป็น 2 แอ่ง คือ แอ่งสกลนครกับแอ่งโคราช หินมหาสารคามนี้มีอายุประมาณยุคครีเทเชียส

                  ตอนปลาย จากหลักฐานสนามแม่เหล็กบรรพกาล และไอโซโทปของแร่มีอายุประมาณ 100 ล้านปี
                                   2.9) หมวดหินภูทอก (KTpt) ประกอบด้วยหินทรายเนื้อละเอียดสีแดง มีชั้นเฉียงสลับ
                  ขนาดใหญ่ และหินทรายสีแดง พบชั้นเฉียงสลับขนาดเล็ก ความหนาของหมวดหินนี้ไม่ต่ํากว่า 200 เมตร โดยที่
                  บริเวณชั้นหินแบบฉบับที่เขาภูทอกน้อย อําเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย มีความหนาประมาณ 139 เมตร
                  หมวดหินภูทอกจะโผล่กระจายตัวทั่วไปโดยปกคลุมอยู่ตอนบนของแอ่งโคราช และแอ่งสกลนครในบริเวณที่ไม่มี

                  ดินปกคลุม หินทรายนี้เกิดจากการสะสมตัวในสภาพแวดล้อมแบบตะกอนพัดพาจากน้ําและลม มีอายุประมาณ
                  ปลายยุคครีเทเชียส
                                3) หินมหายุคซีโนโซอิก (อายุ 65 ล้านปี ถึงปัจจุบัน)

                                   ตะกอนยุคเทอร์เชียรี (Tertiary period) มีอายุ 65 - 1.8 ล้านปีมาแล้ว พบเป็นแอ่งสะสม
                  อยู่บริเวณพื้นที่ราบระหว่างภูเขาบริเวณเทือกเขาเพชรบูรณ์ มีความหนาถึง 1,100 - 2,500 เมตร ประกอบด้วย
                  หินโคลน หินทรายแป้ง หินทราย หินทัฟฟ์ และลิกไนต์ มีอายุตั้งแต่สมัยโอลิโกซีนจนถึงไพลโอซีน
                                   ตะกอนยุคควอเทอร์นารี (Quaternary period) มีอายุ 1.8 ล้านปีถึงปัจจุบัน เป็นตะกอน

                  ที่ยังไม่อัดตัวหรือเชื่อมแข็งตัวเป็นหิน พบอยู่ใต้ระดับผิวดิน ได้แก่ ชั้นกรวด และชั้นดินลูกรัง ตามขอบแอ่ง
                  โคราชทั้งด้านบนและด้านใต้ นอกจากนี้บางแห่งของภาคพบว่าถูกปกคลุมด้วยทรายแป้งลมหอบ (loess)
                  สีน้ําตาลแดงและเหลือง (อายุประมาณ 8,190 – 120 ปี) ที่อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา มีตะกอน
                  ทรายแป้งลมหอบสะสมตัวหนากว่า 8 เมตร โดยพบซากฟันช้างโบราณ มีอายุอยู่ในสมัยไพลสโตซีน (อายุ

                  ประมาณ 1.8 ล้านปี – 11,000 ปีมาแล้ว) และชิ้นส่วนของไม้กลายเป็นหินปะปนอยู่ด้วย
                                4) หินอัคนี พบตั้งแต่เขตจังหวัดเลยจนถึงนครราชสีมา พบทั้งที่เป็นแบบลาวาหลาก (lava flow)
                  และสะสมตัวแบบตะกอนภูเขาไฟ (pyroclastic) กระจายทั่วไปตลอดแนวเทือกเขาตั้งแต่ด้านทิศเหนือ
                  จรดด้านทิศใต้ ขอบเขตแนวหินภูเขาไฟในเขตจังหวัดเลยแบ่งออกเป็น 3 แนว ได้แก่ แนวด้านตะวันตกเป็นพวก

                  หินแอนดีไซต์เนื้อดอก หินกรวดเหลี่ยมภูเขาไฟ และหินไรโอไลต์บ้างเล็กน้อย แนวตะวันออกเป็นพวกหิน
                  ไรโอไลต์เนื้อดอก หินไรโอลิติกทัฟฟ์ และหินแอนดีไซด์บ้างเล็กน้อย อายุของหินภูเขาไฟทั้งสองแนวนี้อยู่ในช่วง
                  ยุคเพอร์เมียน-ไทรแอสซิก ส่วนแนวตอนกลางเป็นกลุ่มหินบะซอลติกแอนดีไซต์อายุช่วงต้นยุคคาร์บอนิเฟอรัส

                  แผ่ครอบคลุมพื้นที่ด้านทิศใต้ของอําเภอปากชม ส่วนหินอัคนีในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา มีอายุในช่วงยุค
                  เพอร์เมียน-ไทรแอสซิกหรืออ่อนกว่า หินบะซอลต์ซึ่งไหลปิดทับกลุ่มหินโคราชพบในบริเวณจังหวัดบุรีรัมย์
                  สุรินทร์ และศรีสะเกษ มีอายุประมาณ 3.28±0.48 ล้านปีถึง 0.92±0.3 ล้านปีมาแล้ว ในยุคเทอร์เชียรี-ควอเทอร์นารี

                        3.2 ธรณีสัณฐานวิทยา
                           สภาพธรณีสัณฐานของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท (เฉลียว, 2531; เอิบ, 2543) ดังนี้

                             3.2.1 สภาพทางธรณีสัณฐานที่เกิดจากการทับถมของตะกอนลําน้ํา แล้วมีการเปลี่ยนแปลงระดับ
                  พื้นที่โดยอิทธิพลของแม่น้ําหรือทางน้ํา และกระบวนการกัดกร่อนที่ทําให้เกิดพื้นที่มีระดับแตกต่างกัน ตะกอนที่
                  ถูกกัดกร่อนออกไปจะถูกพาไปทับถมในพื้นที่ราบลุ่มต่ํากว่า โดยเฉพาะบริเวณที่ราบลุ่มของแม่น้ําสายหลัก
                  สภาพทางธรณีสัณฐานของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เกิดจากกระบวนการกัดกร่อนและอิทธิพลของทางน้ําที่

                  ก่อให้เกิดสภาพพื้นที่ในระดับแตกต่างกันของสองฝั่งแม่น้ํา แบ่งออกได้ดังนี้
                                1) ที่ราบน้ําท่วม (floodplain) พบสองข้างของลําน้ํา เช่น แม่น้ํามูล แม่น้ําชี แม่น้ําโขง แม่น้ํา
                  สงคราม และลําน้ําสาขาหลักของแม่น้ําดังกล่าว พื้นที่ส่วนนี้เกิดจากตะกอนที่แม่น้ําพัดพามาทับถมกันและมี
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78