Page 71 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 71

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                           52



                  ตะวันออก ทําให้แม่น้ําสายต่างๆ ไหลขึ้นไปทางเหนือและทางตะวันออก ก่อนไหลลงสู่แม่น้ําโขง ส่วนแอ่งโคราช
                  ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของภาคนั้น มีอาณาบริเวณกว้างขวางกว่าแอ่งสกลนครมาก เริ่มตั้งแต่ขอบของเทือกเขา
                  พนมดงรักทางด้านใต้ขึ้นไปทางเหนือจนจรดเชิงเขาภูพาน และตั้งแต่บริเวณชายขอบของเทือกเขาดงพญาเย็น

                  ทางตะวันตกไปทางตะวันออกจนจรดแม่น้ําโขง

                  3. ธรณีวิทยาและธรณีสัณฐานวิทยาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                        3.1 ธรณีวิทยา
                           ธรณีวิทยาของภาคตะวันออกเฉียงเหนือแบ่งออกได้เป็น 2 เขต ตามลักษณะภูมิสัณฐานและ

                  ธรณีวิทยาโครงสร้างของชนิดและลักษณะการเรียงลําดับของชั้นหิน ดังนี้ (กรมทรัพยากรธรณี, 2550; จุมพล,
                  2551) (ภาพที่ 10)
                             3.1.1 เขตบริเวณเทือกเขาเพชรบูรณ์ เขตนี้ครอบคลุมเขตพื้นที่จังหวัดเลย และอําเภอด้าน
                  ตะวันตกของจังหวัดหนองคาย หนองบัวลําภู อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ และนครราชสีมา ประกอบด้วยหิน

                  ตะกอนและหินอัคนีเป็นส่วนใหญ่ มีหินแปรบ้างเป็นบริเวณแคบๆ หินเหล่านี้มีอายุตั้งแต่มหายุคพาลีโอโซอิก
                  (Paleozoic era) จนถึงมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic era) โดยมหายุคพาลีโอโซอิกตอนล่าง (Lower
                  Paleozoic era) ปรากฏให้เห็นทางพื้นที่ด้านตะวันออกของอําเภอปากชม จังหวัดเลย ติดต่อกับอําเภอน้ําโสม
                  จังหวัดอุดรธานี หินมหายุคมีโซโซอิก (Mesozoic era) พบอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของแนวเทือกเขา

                  เพชรบูรณ์ หินมหายุคซีโนโซอิก พบบริเวณพื้นที่ราบระหว่างภูเขาบริเวณเทือกเขาเพชรบูรณ์ เป็นแอ่งสะสม
                  ตะกอนยุคเทอร์เชียรี (Tertiary period) มีอายุตั้งแต่สมัยโอลิโกซีน (Oligocene epoch) จนถึงไพลโอซีน
                  (Pliocene epoch) และถูกปิดทับด้วยตะกอนดินทรายยุคควอเทอร์นารี (Quaternary period) หินอัคนีพบ
                  ตั้งแต่เขตจังหวัดเลยจนถึงนครราชสีมา พบทั้งที่เป็นแบบลาวาหลากและสะสมตัวแบบตะกอนภูเขาไฟกระจาย

                  ทั่วไปตลอดแนวเทือกเขาตั้งแต่ด้านทิศเหนือจรดด้านทิศใต้ อายุของหินภูเขาไฟส่วนใหญ่ อยู่ในช่วงยุคเพอร์เมียน
                  จนถึงไทรแอสซิก (Permian-Triassic period)
                             3.1.2 เขตบริเวณที่ราบโคราช หรือพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคบริเวณแอ่งสกลนคร แอ่งโคราช และ

                  เทือกเขาภูพาน ประกอบด้วยหินตะกอนที่เกิดในมหายุคมีโซโซอิกที่สะสมตัวบนภาคพื้นทวีปเป็นส่วนใหญ่
                  เรียกว่า กลุ่มหินโคราช (Mesozoic sedimentary rocks of Khorat group) มีอายุตั้งแต่ยุคไทรแอสซิกตอน
                  ปลายถึงยุคครีเทเชียส-เทอร์เชียรี วางทับอยู่บนพื้นผิวที่เกิดจากการผุกร่อนของหินมหายุคพาลีโอโซอิกตอนบน
                  โดยที่ชั้นหินเอียงลาดเล็กน้อยสู่ใจกลางแอ่งโคราชและแอ่งสกลนคร บริเวณที่ราบตอนกลางของพื้นที่มีแม่น้ํา
                  ใหญ่สองสาย คือ แม่น้ํามูลและแม่น้ําชี เป็นตะกอนลําน้ําที่เกิดในยุคควอเทอร์นารี และทางตอนใต้ของภาคเป็น

                  หินบะซอลต์ยุคเทอร์เชียรี

                             ลําดับชั้นหินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งออกได้ดังนี้
                                1) หินในมหายุคพาลีโอโซอิค (อายุ 544-245 ล้านปีมาแล้ว)
                                   ประกอบด้วยหินแปร พวกหินฟิลไลต์ ควอร์ตไซต์ เชิร์ท และหินชิสต์ของยุคไซลูเรียนถึง

                  ยุคดีโวเนียนตอนกลาง (438 - 380 ล้านปีมาแล้ว) พบในบริเวณเทือกเขาภูพาน หินปูนยุคดีโวเนียนตอนกลาง
                  พบเป็นภูเขาลูกเล็กๆ ในแนวเหนือ-ใต้ บริเวณจากอําเภอปากชม จังหวัดเลยไปทางใต้ และบริเวณจากอําเภอ
                  สังคม จังหวัดหนองคายลงไปทางใต้ หินดินดาน หินปูน หินเชิร์ต หินทราย และหินชนวน ยุคคาร์บอนิเฟอรัส

                  (อายุ 360 – 286 ล้านปีมาแล้ว) พบในบริเวณด้านตะวันออก และตะวันตกของเทือกเขาภูพาน หินปูนยุคเพอร์เมียน
                  (286 - 245 ล้านปีมาแล้ว) พบที่จังหวัดเลย อุดรธานี ขอนแก่น และชัยภูมิ หินในมหายุคพาลีโอโซอิคเหล่านี้
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76