Page 168 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 168

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          146



                                                            บทที่ 6

                                                           บทสรุป


                  1. สรุปผลการศึกษา

                        1.1 สมบัติของดินที่มีผลต่อการประเมินทางด้านปฐพีกลศาสตร์ของดินตัวแทนหลัก

                           การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินบางประการของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินที่พบในภาค
                  ตะวันออกเฉียงเหนือสําหรับการวินิจฉัยคุณภาพดินทางด้านปฐพีกลศาสตร์ จะเห็นได้ว่า ดินส่วนใหญ่มีเนื้อดิน
                  ประเภทดินทราย ดินทรายปนดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย เป็นกลุ่มที่มีปริมาณอนุภาคขนาดทรายสูง (ร้อยละ

                  55.4 - 97.3) แต่มีปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวต่ํา (ร้อยละ 0 - 19.8) ส่งผลให้ดินมีสภาพให้ซึมได้ในระดับ
                  ค่อนข้างเร็วถึงเร็วมาก ซึ่งมีความเหมาะสมสําหรับการใช้เป็นดินถมหรือดินคันทาง เส้นทางแนวถนน บ่อเกรอะ
                  โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และอาคารต่ําๆ ได้แก่ ชุดดินบุณฑริก เชียงคาน ชุมพลบุรี ชุมพวง จอมพระ
                  ด่านซ้าย เลย น้ําพอง โพนพิสัย ปลาปาก ปักธงชัย ธาตุพนม ท่าอุเทน วาริน วังสะพุง ยางตลาด และยโสธร

                  ในขณะดินที่มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวที่มีปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวสูง (ร้อยละ 40.6 - 66.1) อนุภาคขนาด
                  ทรายต่ํา ส่งผลให้ดินมีสภาพให้ซึมได้ในระดับช้าถึงช้ามาก น้ําถูกเก็บไว้ในดินได้ดี ซึ่งเหมาะสมสําหรับการใช้
                  เป็นบ่อขุดและอ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก นอกจากนี้ ความเป็นกรดเป็นด่างตลอดความลึก 200 เซนติเมตร มีค่าอยู่
                  ในช่วง 4.3 – 8.7 ซึ่งมีผลในระดับต่ําต่อการกัดกร่อนของท่อเหล็กที่ไม่เคลือบผิว โดยข้อจํากัดไม่ส่งผลกระทบที่

                  รุนแรงต่อการใช้สร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก

                           เมื่อพิจารณาค่าขีดจํากัดของเหลว และค่าดัชนีพลาสติก จะเห็นว่า ดินส่วนใหญ่มีค่าขีดจํากัดของเหลว
                  อยู่ในช่วง 0.51 – 76.70 โดยดินทราย (s) มีค่าขีดจํากัดของเหลวอยู่ในช่วงต่ําสุด (0.51 - 21.63) และพบสูงสุด
                  ในดินเหนียว (31.76 – 76.60) โดยดินที่มีปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวสูง จะส่งผลให้ค่าขีดจํากัดของเหลว

                  เพิ่มขึ้นด้วย ส่วนค่าดัชนีพลาสติก ส่วนใหญ่มีค่าอยู่ในช่วง 0.50 – 40.04 โดยมีค่าสูงในดินเหนียวที่มีปริมาณ
                  อนุภาคขนาดดินเหนียวอยู่สูง ซึ่งดินที่มีค่าดัชนีพลาสติกสูง ดินอาจเกิดการทรุดตัวค่อนข้างสูง เกิดการแตกร้าว
                  และการเคลื่อนที่สูง ส่งผลให้เกิดความเสียหายกับสิ่งก่อสร้างบนดินนี้สูงมาก ได้แก่ ชุดดินกันทรวิชัย นครพนม
                  ศรีสงคราม และวังไห


                        1.2 ระดับความเหมาะสมของดินทางด้านปฐพีกลศาสตร์

                           จากการศึกษาจําแนกความเหมาะสมของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดิน ด้านปฐพีกลศาสตร์ สามารถ
                  จําแนกความเหมาะสมของดินในระดับดีตามการใช้ประโยชน์ทางปฐพีกลศาสตร์ ดังนี้
                             1) แหล่งหน้าดิน ได้แก่ ชุดดินชํานิ ชุมพวง จอมพระ ห้วยแถลง โคราช วาริน ยางตลาด และ

                  ยโสธร
                             2) แหล่งทรายหรือกรวด ดินตัวแทนหลักทั้ง 41 ชุดดิน ไม่เหมาะสมสําหรับใช้เป็นแหล่งทรายหรือกรวด
                             3) ดินถมหรือดินคันทาง ได้แก่ ชุดดินบ้านไผ่ ชุมพลบุรี ชุมพวง จอมพระ จันทึก ด่านซ้าย ห้วยแถลง
                  โคราช มหาสารคาม น้ําพอง ปลาปาก ปักธงชัย วาริน ยางตลาด และยโสธร

                             4) เส้นทางแนวถนน ได้แก่ ชุดดินบ้านไผ่ ชุมพลบุรี ชุมพวง จอมพระ จันทึก ด่านซ้าย ห้วยแถลง
                  โคราช มหาสารคาม น้ําพอง ปลาปาก ปักธงชัย วาริน ยางตลาด และยโสธร
                             5) บ่อขุดและอ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก ได้แก่ ชุดดินบุรีรัมย์ ชุมแพ กันทรวิชัย เขมราฐ นาดูน โนนไทย
                  พล และวังไห
   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173