Page 171 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 171

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          149



                  Unified และ AASHO ซึ่งดินในกลุ่มนี้มีปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวสูง เหมาะสมสําหรับการใช้เป็นบ่อขุด
                  และอ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก
                             4) ดินปนชิ้นส่วนหยาบ จําแนกในระบบ Unified ได้เป็น GM และ GC เป็นกรวดที่มีทรายแป้ง

                  และดินเหนียวปะปน และจําแนกระบบ AASHO เป็น A-2-4, A-2-6, A-2-7, A-6 และ A-7 เป็นกลุ่มเนื้อดินที่
                  เหมาะสมสําหรับใช้เป็นดินถมหรือดินคันทาง เส้นทางแนวถนน คันกั้นน้ํา โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และ
                  อาคารต่ําๆ

                  2. ประโยชน์ที่ได้รับ


                        2.1 ทราบถึงลักษณะและสมบัติของดินที่มีผลต่อความเหมาะสมและข้อจํากัดของดินด้านปฐพีกลศาสตร์
                  ได้แก่ เนื้อดิน การนําน้ําของดิน ค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน ค่าขีดจํากัดของเหลว ค่าดัชนีพลาสติก
                  รวมทั้งสภาพภูมิประเทศ และสมบัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

                        2.2 ทราบระดับความเหมาะสมทางด้านปฐพีกลศาสตร์ของดินตัวแทนหลัก ในเรื่องการใช้เป็นแหล่ง

                  หน้าดิน แหล่งทรายหรือกรวด ดินถมหรือดินคันทาง เส้นทางแนวถนน บ่อขุด อ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก คันกั้นน้ํา
                  ระบบบ่อเกรอะ การสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก การสร้างอาคารต่ําๆ และการใช้ยานพาหนะในช่วงฤดูฝน
                  ซึ่งนําไปสู่การใช้ประโยชน์ที่ดินและการจัดการดินได้อย่างเหมาะสม

                        2.3 สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลสําหรับวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนําข้อมูล
                  ดังกล่าวมาจัดทําแผนที่ความเหมาะสมของดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

                  ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย และสะดวกต่อการใช้ประโยชน์ในงานด้าน
                  ปฐพีกลศาสตร์ รวมถึงใช้เป็นข้อมูลประกอบการศึกษา ค้นคว้าวิจัยและทํางานของนักศึกษา นักวิจัย เจ้าหน้าที่
                  และผู้ที่สนใจเกี่ยวข้องกับงานด้านปฐพีกลศาสตร์

                        2.4 เป็นฐานข้อมูลระดับความเหมาะสมของการขุดแหล่งน้ําในไร่นานอกเขตชลประทาน ความจุขนาด

                  1,260 ลูกบาศก์เมตร เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของกรมพัฒนาที่ดินใช้ประกอบการตัดสินใจและวางแผนในการเลือก
                  พื้นที่ที่สามารถเก็บกักน้ําไว้ใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงฤดูแล้งได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งสํานักงานปฏิรูป
                  ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมสามารถนําไปใช้วางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินได้อย่างถูกต้อง ว่าบริเวณ
                  ใดควรจัดสรรเป็นพื้นที่ทําการเกษตร ขุดบ่อน้ํา หรือที่อยู่อาศัย
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176