Page 170 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 170

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          148



                             11) ชุดดินโพนพิสัย มีความเหมาะสมดีสําหรับการทําระบบบ่อเกรอะและการใช้ยานพาหนะ
                  ในช่วงฤดูฝน
                             12) ชุดดินปลาปาก มีความเหมาะสมดีสําหรับการใช้เป็นดินถมหรือดินคันทาง เส้นทางแนวถนน

                  คันกั้นน้ํา ระบบบ่อเกรอะ และการใช้ยานพาหนะในช่วงฤดูฝน
                             13) ชุดดินปักธงชัย มีความเหมาะสมดีสําหรับการใช้เป็นดินถมหรือดินคันทาง เส้นทางแนวถนน
                  ทําระบบบ่อเกรอะ สร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก สร้างอาคารต่ําๆ และการใช้ยานพาหนะในช่วงฤดูฝน
                             14) ชุดดินสีคิ้ว มีความเหมาะสมดีสําหรับการสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก สร้างอาคารต่ําๆ
                  และการใช้ยานพาหนะในช่วงฤดูฝน


                           ทั้งนี้ ดินตัวแทนหลักทั้ง 41 ชุดดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินไม่เหมาะสม และไม่เหมาะสม
                  อย่างยิ่งสําหรับใช้เป็นแหล่งทรายหรือกรวด เนื่องจากการใช้เป็นแหล่งทรายหรือกรวด ต้องเป็นกรวดหรือทราย
                  สะอาด ที่ไม่มีอนุภาคละเอียดปนหรือมีน้อยมาก

                        1.3 สมบัติของดินที่ใช้ประเมินข้อบ่งชี้ทางปฐพีกลศาสตร์

                           จากความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณขนาดอนุภาคดินและอินทรียวัตถุ กับค่าขีดจํากัดของเหลว และค่าดัชนี
                  พลาสติกของดิน ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ทางปฐพีกลศาสตร์ พบว่า ปริมาณอนุภาคขนาดทราย ทรายแป้ง และดินเหนียว
                  มีสหสัมพันธ์กับค่าขีดจํากัดของเหลว และค่าดัชนีพลาสติกอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ โดยเฉพาะปริมาณอนุภาค
                  ขนาดดินเหนียว ซึ่งมีสหสัมพันธ์สูงในทางบวกกับค่าขีดจํากัดของเหลวในชั้นดินบน (r = 0.868*) และค่าดัชนี

                  พลาสติก (r = 0.831*)  สะท้อนให้เห็นว่า ดินที่มีปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียวเป็นองค์ประกอบอยู่สูงย่อม
                  ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของค่าขีดจํากัดของเหลว และค่าดัชนีพลาสติก เช่นเดียวกับความสัมพันธ์ในช่วงตลอด
                  หน้าตัดดิน และชั้นดินล่าง ซึ่งค่าขีดจํากัดของเหลว (r = 0.838* และ r = 0.822* ตามลําดับ) และค่าดัชนีพลาสติก
                  (r = 0.780* และ r =0.758** ตามลําดับ) มีสหสัมพันธ์ในทางบวกกับปริมาณอนุภาคขนาดดินเหนียว ส่วนปริมาณ

                  อินทรียวัตถุมีสหสัมพันธ์กับค่าขีดจํากัดของเหลว แต่ไม่มีสหสัมพันธ์กับค่าดัชนีพลาสติก

                           นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาเนื้อดินโดยอาศัยสัดส่วนปริมาณอนุภาคขนาดทราย ทรายแป้ง และดินเหนียว
                  ที่เป็นองค์ประกอบ สําหรับการประเมินทางปฐพีกลศาสตร์โดยใช้ระบบ USDA กับการจําแนกดินในระบบ
                  Unified และ AASHO จะเห็นว่า

                             1) ดินทราย (s) และดินทรายปนดินร่วน (ls) จําแนกในระบบ Unified ได้เป็น SM และ SM-SC
                  และระบบ AASHO เป็น A-2-4 จัดอยู่ในกลุ่มดินเม็ดหยาบทั้งในระบบ Unified และ AASHO ซึ่งเป็นกลุ่มเนื้อดิน
                  ที่เหมาะสมเป็นวัสดุรองพื้นทาง ก่อสร้างถนน ฐานรากรองรับโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และอาคารต่ําๆ
                             2) ดินร่วนปนทราย (sl) และดินร่วนเหนียวปนทราย (scl) จําแนกในระบบ Unified ได้เป็น SM,

                  SC, ML, CL, MH และ CH ส่วนระบบ AASHO เป็น A-2-4, A-2-6, A-4 และ A-6 จัดอยู่ในกลุ่มทั้งดิน
                  เม็ดหยาบ และดินเม็ดละเอียด เหมาะสมในระดับดีถึงปานกลางสําหรับแหล่งหน้าดิน ดินถมหรือดินคันทาง
                  เส้นทางแนวถนน โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และอาคารต่ําๆ
                             3) ดินร่วน (l) ดินร่วนปนทรายแป้ง (sil) ดินร่วนเหนียว (cl) ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง (sicl)

                  ดินเหนียวปนทราย (sc) ดินเหนียวปนทรายแป้ง (sic) และดินเหนียว (c) จําแนกในระบบ Unified ได้เป็น ML,
                  CL, MH และ CH และระบบ AASHO ของเนื้อดินร่วน (l) ดินร่วนปนทรายแป้ง (sil) ดินร่วนเหนียว (cl)
                  และดินเหนียวปนทราย (sc) จําแนกได้เป็น A-4, A-5, A-6 และ A-7 ส่วนเนื้อดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง (sicl)

                  ดินเหนียวปนทรายแป้ง (sic) และดินเหนียว (c) จําแนกได้เป็น A-7 จัดอยู่ในกลุ่มดินเม็ดละเอียดทั้งในระบบ
   165   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175