Page 150 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 150

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          128



                        2.10 ความเหมาะสมของดินสําหรับใช้สร้างอาคารต่ําๆ

                           การประเมินความเหมาะสมนี้ ยึดตามข้อมูลจากชุดดินตัวแทนหลัก ซึ่งกรณีชุดดินที่มีหลายชั้นความ
                  ลาดชัน จะยึดถือตามความลาดชันที่เป็นหลักของชุดดินนั้น ดังนี้ ชุดดินด่านซ้าย และภูเรือ จะใช้ความลาดชัน
                  5 - 12 เปอร์เซ็นต์เป็นเกณฑ์ หากต้องการทราบความเหมาะสมของชุดดินที่อยู่บนความลาดชันแตกต่างไป

                  สามารถตรวจสอบได้จากตารางภาคผนวกที่ 18 จากผลการจําแนกความเหมาะสมของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดิน
                  สําหรับการใช้สร้างอาคารต่ําๆ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ

                             1) ดินที่มีความเหมาะสมดี (1) สําหรับใช้สร้างอาคารต่ําๆ ได้แก่ ชุดดินบ้านไผ่ ชุมพวง จอมพระ
                  จันทึก ห้วยแถลง น้ําพอง ปักธงชัย สีคิ้ว วาริน ยางตลาด และยโสธร (ตารางที่ 51) มีเนื้อดินเป็นดินทราย
                  ดินทรายปนดินร่วน ดินร่วนปนทราย และดินร่วนเหนียวปนทราย จําแนกดินในระบบ Unified ได้เป็น SM กับ SC

                  (PI < 15) ทําให้มีการระบายน้ําดี สะดวกในการขุด และมีความมั่นคงในการรับน้ําหนัก

                             2) ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องการระบายน้ําของดินดีปานกลาง (2d)
                  ได้แก่ ชุดดินชุมพลบุรี โคราช มหาสารคาม ปลาปาก และเรณู ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดใน
                  เรื่องความลาดชัน (2t) ซึ่งพบอยู่ในพื้นที่ที่มีความลาดชัน 11 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ ชุดดินด่านซ้าย ดินที่มีความ

                  เหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องการระบายน้ําของดินดีปานกลาง และลักษณะของดินตามการ
                  จําแนกดิน (2da) ได้แก่ ชุดดินธาตุพนม ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดิน
                  ตามการจําแนกดิน โดยมีการจําแนกดินตามระบบ Unified ได้เป็น ML และ CL ซึ่งพบอยู่ในพื้นที่ที่มี
                  ความลาดชัน 9 เปอร์เซ็นต์ (2at) ได้แก่ ชุดดินภูเรือ


                             3) ดินไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องการระบายน้ําของดินค่อนข้างเลวถึงเลว (3d) ได้แก่ ชุดดิน
                  บุณฑริก ชํานิ โนนไทย ร้อยเอ็ด และอุบล ดินไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดินตามการจําแนกดิน
                  (3a) โดยมีการจําแนกดินตามระบบ Unified ได้เป็น MH และ CH ได้แก่ ชุดดินจัตุรัส เลย สูงเนิน และวังไห
                  ดินไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องการระบายน้ําของดินค่อนข้างเลวถึงเลว และลักษณะของดินตามการ

                  จําแนกดิน (3da) ได้แก่ ชุดดินบุรีรัมย์ ชุมแพ และนครพนม ดินไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องการระบายน้ํา
                  ของดินค่อนข้างเลวถึงเลว ลักษณะของดินตามการจําแนกดิน และอันตรายจากน้ําท่วม (3daf) ได้แก่ ชุดดิน
                  กันทรวิชัย ศรีสงคราม และท่าตูม

                             นอกจากนี้ ในบางชุดดินตัวแทนหลักมีความแตกต่างในการนําไปใช้สร้างอาคารต่ําๆ แบ่งออกเป็น
                  2 ส่วน เมื่อพิจารณาตามความลึกชั้นกําเนิดดิน พบว่า

                                - ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดินตามการจําแนกดิน/
                  เหมาะสมดี (2a/1) ได้แก่ ชุดดินเชียงคาน และวังสะพุง
                                - ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องการระบายน้ําของดินดีปานกลาง/
                  เหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องการระบายน้ําของดินดีปานกลาง และลักษณะของดินตามการจําแนกดิน

                  (2d/2da) ได้แก่ ชุดดินโพนพิสัย
                                - ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องการระบายน้ําของดินดีปานกลาง/
                  ไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องการระบายน้ําของดินค่อนข้างเลวถึงเลว (2d/3d) ได้แก่ ชุดดินท่าอุเทน

                                - ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องการระบายน้ําของดินดีปานกลาง
                  และลักษณะของดินตามการจําแนกดิน/ไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องการระบายน้ําของดินค่อนข้างเลวถึงเลว
                  (2da/3d) ได้แก่ ชุดดินเขมราฐ นาดูน และพล (ภาพที่ 23)
   145   146   147   148   149   150   151   152   153   154   155