Page 138 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 138

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          116



                        2.5 ความเหมาะสมของดินสําหรับใช้เป็นบ่อขุด

                           จากผลการจําแนกความเหมาะสมของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินสําหรับการใช้เป็นบ่อขุด สามารถ
                  แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ

                             1) ดินที่มีความเหมาะสมดี (1) สําหรับใช้เป็นบ่อขุด ได้แก่ ชุดดินบุรีรัมย์ ชุมแพ กันทรวิชัย
                  เขมราฐ นาดูน โนนไทย พล และวังไห (ตารางที่ 46) เนื่องจากชุดดินดังกล่าวมีสภาพให้ซึมได้ของดินอยู่ใน

                  ระดับช้าและช้ามาก ที่ระดับความลึก 1 - 2 เมตร จากผิวดิน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดินน้อยกว่า 0.5
                  เซนติเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ไม่มีก้อนหินโผล่ และหินพื้นโผล่ทําให้ง่ายต่อการขุดบ่อ

                             2) ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง โดยมีข้อจํากัดในเรื่องสภาพให้ซึมได้ของดินอยู่ในระดับ
                  ค่อนข้างช้าถึงปานกลาง (2k) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดิน 0.5 - 5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง ได้แก่ ชุดดิน

                  บ้านไผ่ ชํานิ จัตุรัส จันทึก ห้วยแถลง โคราช มหาสารคาม นครพนม ภูเรือ ร้อยเอ็ด เรณู สีคิ้ว สูงเนิน
                  ศรีสงคราม ท่าตูม และอุบล

                             3) ดินไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องสภาพให้ซึมได้ของดินอยู่ในระดับค่อนข้างเร็วถึงเร็ว (3k)
                  โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดินมากกว่า 5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง ได้แก่ ชุดดินบุณฑริก เชียงคาน ชุมพลบุรี

                  ชุมพวง จอมพระ ด่านซ้าย เลย น้ําพอง โพนพิสัย ปลาปาก ปักธงชัย ธาตุพนม ท่าอุเทน วาริน วังสะพุง
                  ยางตลาด และยโสธร

                           โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นหินทรายชนิดต่างๆ ที่วางตัวเป็นชั้นสลับกัน และมี
                  แทรกสลับด้วยชั้นหินตะกอนชนิดอื่นๆ เช่น หินทรายแป้ง หินดินดานปนโคลน หินกรวดมน เป็นต้น ทําให้มี
                  เนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย และมีน้ําไม่เพียงพอสําหรับทําการเกษตร เกษตรกรจึงมีความต้องการขุดบ่อน้ําใน

                  ไร่นา เพื่อเก็บกักน้ําไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ซึ่งบ่อขุดสามารถเก็บกักน้ําได้ เพราะมีหินทรายแป้ง และดินเหนียว
                  รองรับอยู่ใต้ล่าง ในการวินิจฉัยความเหมาะสมของดินสําหรับใช้เป็นบ่อขุด และอ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก จะประเมิน
                  สมบัติของดินภายในระดับความลึก 2 เมตรเท่านั้น เพื่อคาดการณ์ดินที่อยู่ใต้ระดับความลึกดังกล่าว ดังนั้น
                  การประเมินความเหมาะสมของดินสําหรับใช้เป็นบ่อขุด และอ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก อาจมีความคลาดเคลื่อนได้

                  (ภาพที่ 18)

                  ตารางที่ 46 ความเหมาะสมของดินสําหรับใช้เป็นบ่อขุดของดินตัวแทนหลัก

                       ระดับความเหมาะสม        ข้อจํากัด       สัญลักษณ์              ชุดดิน

                       เหมาะสมดี         -                        1      บุรีรัมย์ ชุมแพ กันทรวิชัย เขมราฐ นาดูน
                                                                         โนนไทย พล วังไห

                       เหมาะสมปานกลาง    สภาพให้ซึมได้ของดิน      2k     บ้านไผ่ ชํานิ จัตุรัส จันทึก ห้วยแถลง
                                         (0.5 – 5 cm/hr)                 โคราช มหาสารคาม นครพนม ภูเรือ
                                                                         ร้อยเอ็ด เรณู สีคิ้ว สูงเนิน ศรีสงคราม
                                                                         ท่าตูม อุบล

                       ไม่เหมาะสม        สภาพให้ซึมได้ของดิน      3k     บุณฑริก เชียงคาน ชุมพลบุรี ชุมพวง
                                         (มากกว่า 5 cm/hr)               จอมพระ ด่านซ้าย เลย น้ําพอง โพนพิสัย
                                                                         ปลาปาก ปักธงชัย ธาตุพนม ท่าอุเทน วาริน

                                                                         วังสะพุง ยางตลาด ยโสธร
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143