Page 134 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 134

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          112



                        2.4 ความเหมาะสมของดินสําหรับใช้เป็นเส้นทางแนวถนน

                           จากผลการจําแนกความเหมาะสมของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินสําหรับการใช้เป็นเส้นทางแนวถนน
                  โดยพิจารณาปัจจัยสมบัติดินผ่านระบบการจําแนกดินในระบบ Unified สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ

                             1) ดินที่มีความเหมาะสมดี (1) สําหรับใช้เป็นเส้นทางแนวถนน ได้แก่ ชุดดินบ้านไผ่ ชุมพลบุรี
                  ชุมพวง จอมพระ จันทึก ด่านซ้าย ห้วยแถลง โคราช มหาสารคาม น้ําพอง ปลาปาก ปักธงชัย วาริน ยางตลาด

                  และยโสธร (ตารางที่ 45) เนื่องจากชุดดินดังกล่าวมีการจําแนกดินในระบบ Unified ได้เป็น GM, GC, SM
                  และ SC และมีค่าดัชนีกลุ่มที่เขียนในวงเล็บท้ายชื่อกลุ่มในระบบ AASHO เท่ากับ 0 - 1 เป็นดินที่มีศักยภาพ
                  ในการยืดและหดตัวของดินต่ํา เป็นวัสดุดินที่มีความเหมาะสมในการใช้เป็นชั้นดินคันทาง และชั้นรองพื้นฐาน
                  ซึ่งสามารถรับน้ําหนักของการจราจรได้ดี ไม่มีการแตกร้าว และการทรุดตัวต่ํา


                             2) ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดินตามการจําแนกดิน (2a)
                  โดยมีการจําแนกดินตามระบบ Unified ได้เป็น CL (PI < 15) และ ML ได้แก่ ชุดดินภูเรือ สีคิ้ว และธาตุพนม
                  ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องการระบายน้ําของดินค่อนข้างเลว (2d) ได้แก่ ชุดดินอุบล
                  ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดินตามการจําแนกดิน และการระบายน้ําของดิน

                  ค่อนข้างเลว (2ad) ได้แก่ ชุดดินชํานิ

                             3) ดินไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดินตามการจําแนกดิน (3a) โดยมีการจําแนกดิน
                  ตามระบบ Unified ได้เป็น CL (PI ≥ 15), CH และ MH ได้แก่ ชุดดินบุณฑริก จัตุรัส เลย นครพนม โนนไทย
                  พล สูงเนิน และวังไห ดินไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดินตามการจําแนกดิน และศักยภาพใน
                  การยืดหดตัวของดินสูง (3al) ได้แก่ ชุดดินบุรีรัมย์ ดินไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดินตามการ

                  จําแนกดิน และการระบายน้ําของดินเลว (3ad) ได้แก่ ชุดดินชุมแพ ดินไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะ
                  ของดินตามการจําแนกดิน การระบายน้ําของดินเลว และอันตรายจากน้ําท่วม (3adf) ได้แก่ ชุดดินกันทรวิชัย
                  ศรีสงคราม และท่าตูม


                             นอกจากนี้ ในบางชุดดินตัวแทนหลักมีความแตกต่างในการนําไปใช้เป็นเส้นทางแนวถนน
                  แบ่งออกเป็น 2 ส่วน เมื่อพิจารณาตามความลึกชั้นกําเนิดดิน พบว่า
                                - ดินที่มีความเหมาะสมดี/เหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดินตามการ
                  จําแนกดิน (1/2a) ได้แก่ ชุดดินโพนพิสัย
                                - ดินที่มีความเหมาะสมดี/เหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องการระบายน้ําของดิน

                  ค่อนข้างเลว (1/2d) ได้แก่ ชุดดินท่าอุเทน
                                - ดินที่มีความเหมาะสมดี/เหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดินตามการ
                  จําแนกดิน และการระบายน้ําของดินค่อนข้างเลว (1/2ad) ได้แก่ ชุดดินร้อยเอ็ด
                                - ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดินตามการจําแนกดิน/

                  เหมาะสมดี (2a/1) ได้แก่ ชุดดินเชียงคาน และวังสะพุง
                                - ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดินตามการจําแนกดิน
                  และการระบายน้ําของดินค่อนข้างเลว/เหมาะสมดี (2ad/1) ได้แก่ ชุดดินเรณู

                                - ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดินตามการจําแนกดิน/
                  เหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดินตามการจําแนกดิน ศักยภาพในการยืดหดตัวของดิน
                  ปานกลาง และการระบายน้ําของดินค่อนข้างเลว (2a/2ald) ได้แก่ ชุดดินนาดูน
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139