Page 142 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 142

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          120



                        2.7 ความเหมาะสมของดินสําหรับใช้สร้างคันกั้นน้ํา

                           จากผลการจําแนกความเหมาะสมของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินสําหรับการใช้สร้างคันกั้นน้ํา
                  สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ

                             1) ดินที่มีความเหมาะสมดี (1) สําหรับใช้สร้างคันกั้นน้ํา ได้แก่ ชุดดินปลาปาก (ตารางที่ 48) เป็น
                  ดินร่วนเหนียวปนชิ้นส่วนหยาบ ซึ่งการจําแนกดินตามระบบ Unified แบ่งได้เป็น GC กลุ่มดินเหนียวปนกรวด

                  ลูกรัง โดยเป็นวัสดุดินที่หลังบดอัดแล้วมีระดับความหนาแน่นของดินเพิ่มขึ้น และลดอัตราการไหลซึมของน้ํา
                  ผ่านดินที่บดอัดแน่นแล้ว เหมาะสมในการก่อสร้างขวางทางระบายน้ํา เพื่อกักเก็บน้ําไว้ใช้ประโยชน์

                             2) ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดินตามการจําแนกดิน (2a)
                  โดยมีการจําแนกดินตามระบบ Unified ได้เป็น GM, SM, ML, CL และ CH ได้แก่ ชุดดินบ้านไผ่ บุรีรัมย์
                  บุณฑริก ชุมพลบุรี ชํานิ ชุมแพ ชุมพวง จอมพระ จันทึก ด่านซ้าย ห้วยแถลง เขมราฐ  โคราช มหาสารคาม
                  นาดูน น้ําพอง โนนไทย พล ปักธงชัย ภูเรือ ร้อยเอ็ด สีคิ้ว ธาตุพนม อุบล วาริน ยางตลาด และยโสธร ดินที่มี

                  ความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดินตามการจําแนกดิน และความหนาของวัสดุอยู่
                  ในช่วง 60 – 150 เซนติเมตร (2ab) ได้แก่ ชุดดินจัตุรัส

                             3) ดินไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดินตามการจําแนกดิน (3a) โดยมีการจําแนกดิน
                  ตามระบบ Unified ได้เป็น MH ได้แก่ ชุดดินกันทรวิชัย เลย นครพนม สูงเนิน ศรีสงคราม ท่าตูม และวังไห

                             นอกจากนี้ ในบางชุดดินตัวแทนหลักมีความแตกต่างในการนําไปใช้สร้างคันกั้นน้ํา แบ่งออกเป็น
                  2 ส่วน เมื่อพิจารณาตามความลึกชั้นกําเนิดดิน พบว่า
                                - ดินที่มีความเหมาะสมดี/เหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดินตามการ

                  จําแนกดิน (1/2a) ได้แก่ ชุดดินโพนพิสัย
                                - ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดินตามการจําแนกดิน/
                  เหมาะสมดี (2a/1) ได้แก่ ชุดดินเชียงคาน เรณู และท่าอุเทน
                                - ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องลักษณะของดินตามการจําแนกดิน และ

                  ความหนาของวัสดุ/เหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องความหนาของวัสดุ (2ab/2b) ได้แก่ ชุดดินวังสะพุง
                  (ภาพที่ 20)

                  ตารางที่ 48 ความเหมาะสมของดินสําหรับใช้สร้างคันกั้นน้ําของดินตัวแทนหลัก

                       ระดับความเหมาะสม        ข้อจํากัด       สัญลักษณ์              ชุดดิน

                       เหมาะสมดี         -                        1      ปลาปาก
                       เหมาะสมปานกลาง    ลักษณะของดินตามการ       2a     บ้านไผ่ บุรีรัมย์ บุณฑริก ชุมพลบุรี ชํานิ ชุม

                                         จําแนกดิน                       แพ ชุมพวง จอมพระ จันทึก ด่านซ้าย ห้วย
                                         GM, SM, ML, CL, CH              แถลง เขมราฐ โคราช มหาสารคาม นาดูน
                                                                         น้ําพอง โนนไทย พล ปักธงชัย ภูเรือ

                                                                         ร้อยเอ็ด สีคิ้ว ธาตุพนม อุบล วาริน ยาง
                                                                         ตลาด ยโสธร
                                         ลักษณะของดินตามการ      2ab     จัตุรัส
                                         จําแนกดิน CL, CH
                                         และความหนาของวัสดุ
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147