Page 143 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 143

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          121




                  ตารางที่ 48 (ต่อ)

                       ระดับความเหมาะสม        ข้อจํากัด       สัญลักษณ์              ชุดดิน
                       ไม่เหมาะสม        ลักษณะของดินตามการ       3a     กันทรวิชัย เลย นครพนม สูงเนิน
                                         จําแนกดิน MH                    ศรีสงคราม ท่าตูม วังไห

                       เหมาะสมดี/เหมาะสม -/ลักษณะของดินตามการ    1/2a    โพนพิสัย
                       ปานกลาง           จําแนกดิน GM, ML
                       เหมาะสมปานกลาง/   ลักษณะของดินตามการ      2a/1    เชียงคาน เรณู ท่าอุเทน

                       เหมาะสมดี         จําแนกดิน SM, ML, CL/-
                       เหมาะสมปานกลาง/   ลักษณะของดินตามการ     2ab/2b  วังสะพุง
                       เหมาะสมปานกลาง    จําแนกดิน SM, ML, CL
                                         และความหนาของวัสดุ
                                         /ความหนาของวัสดุ

                        2.8 ความเหมาะสมของดินสําหรับใช้ทําระบบบ่อเกรอะ

                           การประเมินความเหมาะสมนี้ ยึดตามข้อมูลจากชุดดินตัวแทนหลัก ซึ่งกรณีชุดดินที่มีหลายชั้นความ
                  ลาดชัน จะยึดถือตามความลาดชันที่เป็นหลักของชุดดินนั้น ดังนี้ ชุดดินด่านซ้าย และภูเรือ จะใช้ความลาดชัน

                  5 - 12 เปอร์เซ็นต์เป็นเกณฑ์ หากต้องการทราบความเหมาะสมของชุดดินที่อยู่บนความลาดชันแตกต่างไป
                  สามารถตรวจสอบได้จากตารางภาคผนวกที่ 18 จากผลการจําแนกความเหมาะสมของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดิน
                  สําหรับการใช้ทําระบบบ่อเกรอะ สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ


                             1) ดินที่มีความเหมาะสมดี (1) สําหรับใช้ทําระบบบ่อเกรอะ ได้แก่ ชุดดินบุณฑริก เชียงคาน
                  ชุมพลบุรี ชุมพวง จอมพระ จันทึก โคราช เลย มหาสารคาม น้ําพอง โพนพิสัย ปลาปาก ปักธงชัย ธาตุพนม

                  ท่าอุเทน วาริน วังสะพุง ยางตลาด และยโสธร (ตารางที่ 49) เนื่องจากชุดดินดังกล่าวมีสภาพให้ซึมได้ของดิน
                  อยู่ในระดับค่อนข้างเร็ว เร็ว และเร็วมาก ค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดินมากกว่า 5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง ส่งผล
                  ให้มีระบบในการระบายน้ําทิ้งลงสู่พื้นดินที่มีประสิทธิภาพสูง

                             2) ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องสภาพให้ซึมได้ของดินอยู่ในระดับค่อนข้างช้า
                  ถึงปานกลาง (2k) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดิน 0.5 - 5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง ได้แก่ ชุดดินบ้านไผ่ ชํานิ
                  ห้วยแถลง เรณู สีคิ้ว และอุบล ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องความลาดชัน (2t) ซึ่งพบ

                  อยู่ในพื้นที่ที่มีความลาดชัน 9 - 15 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ ชุดดินด่านซ้าย และภูเรือ ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง
                  มีข้อจํากัดในเรื่องสภาพให้ซึมได้ของดิน และความลึกของระดับน้ําใต้ดินในฤดูฝนอยู่ระหว่าง 100 – 150
                  เซนติเมตร (2kh) ได้แก่ ชุดดินนครพนม และร้อยเอ็ด


                             3) ดินไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องสภาพให้ซึมได้ของดินอยู่ในระดับค่อนข้างช้าถึงช้ามาก (3k)
                  โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดินน้อยกว่า 0.5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง ได้แก่ ชุดดินชุมแพ เขมราฐ นาดูน โนน

                  ไทย พล สูงเนิน และวังไห ดินไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องอันตรายจากน้ําท่วม (3f) ได้แก่ ชุดดินศรีสงคราม
                  และท่าตูม ดินไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องความลึกถึงชั้นหินพื้นที่ 70 เซนติเมตร (3c) ได้แก่ ชุดดินจัตุรัส
                  ดินไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องสภาพให้ซึมได้ของดิน และศักยภาพในการยืดหดตัวของดินสูง (3kl) ได้แก่
                  ชุดดินบุรีรัมย์ ดินไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องสภาพให้ซึมได้ของดิน และอันตรายจากน้ําท่วม (3kf) ได้แก่

                  ชุดดินกันทรวิชัย (ภาพที่ 21)
   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148