Page 140 - การศึกษาลักษณะและสมบัติของดินเพื่อวินิฉัยคุณภาพดินด้านปฐพีกลศาสตร์ในดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 140

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                          118



                        2.6 ความเหมาะสมของดินสําหรับใช้เป็นอ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก

                           การประเมินความเหมาะสมนี้ ยึดตามข้อมูลจากชุดดินตัวแทนหลัก ซึ่งกรณีชุดดินที่มีหลายชั้นความ
                  ลาดชัน จะยึดถือตามความลาดชันที่เป็นหลักของชุดดินนั้น ดังนี้ ชุดดินภูเรือ จะใช้ความลาดชัน 5 - 12
                  เปอร์เซ็นต์เป็นเกณฑ์ หากต้องการทราบความเหมาะสมของชุดดินที่อยู่บนความลาดชันแตกต่างไป สามารถ

                  ตรวจสอบได้จากตารางภาคผนวกที่ 18 หรือประเมินใหม่ตามหลักเกณฑ์การประเมินความเหมาะสมทางด้าน
                  ปฐพีกลศาสตร์ จากผลการจําแนกความเหมาะสมของดินตัวแทนหลัก 41 ชุดดินสําหรับการใช้เป็นอ่างเก็บน้ํา
                  ขนาดเล็ก สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ

                             1) ดินที่มีความเหมาะสมดี (1) สําหรับใช้เป็นอ่างเก็บน้ําขนาดเล็ก ได้แก่ ชุดดินบุรีรัมย์ ชุมแพ
                  กันทรวิชัย เขมราฐ นาดูน โนนไทย พล และวังไห (ตารางที่ 47) เนื่องจากชุดดินดังกล่าวมีค่าสัมประสิทธิ์การ
                  นําน้ําของดินน้อยกว่า 0.5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง มีความลึกของชั้นซาบซึมน้ํามากกว่า 180 เซนติเมตร ต้องอยู่

                  ในสภาพพื้นที่ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย จึงมีความเหมาะสมในการเป็นพื้นที่รองรับน้ํา

                             2) ดินที่มีความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องสภาพให้ซึมได้ของดินอยู่ในระดับค่อนข้างช้า
                  ถึงปานกลาง (2k) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดิน 0.5 - 5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง ได้แก่ ชุดดินบ้านไผ่ ชํานิ
                  จันทึก ห้วยแถลง โคราช มหาสารคาม นครพนม ร้อยเอ็ด เรณู สีคิ้ว สูงเนิน ศรีสงคราม ท่าตูม และอุบล ดินที่มี
                  ความเหมาะสมปานกลาง มีข้อจํากัดในเรื่องสภาพให้ซึมได้ของดิน และความลาดชัน (2kt) ซึ่งพบอยู่ในพื้นที่ที่มี
                  ความลาดชัน 9 เปอร์เซ็นต์ ได้แก่ ชุดดินภูเรือ


                             3) ดินไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องสภาพให้ซึมได้ของดินอยู่ในระดับค่อนข้างเร็วถึงเร็ว (3k)
                  โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การนําน้ําของดินมากกว่า 5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง ได้แก่ ชุดดินบุณฑริก เชียงคาน ชุมพลบุรี
                  ชุมพวง จอมพระ ด่านซ้าย เลย น้ําพอง โพนพิสัย ปลาปาก ปักธงชัย ธาตุพนม ท่าอุเทน วาริน วังสะพุง
                  ยางตลาด และยโสธร ดินไม่เหมาะสม มีข้อจํากัดในเรื่องความลึกของชั้นที่มีการซาบซึมน้ํา (3m) โดยมีความ
                  ลึกของชั้นดินตื้นกว่า 90 เซนติเมตร ได้แก่ ชุดดินจัตุรัส (ภาพที่ 19)


                  ตารางที่ 47 ความเหมาะสมของดินสําหรับใช้เป็นอ่างเก็บน้ําขนาดเล็กของดินตัวแทนหลัก

                       ระดับความเหมาะสม        ข้อจํากัด       สัญลักษณ์              ชุดดิน

                       เหมาะสมดี         -                        1      บุรีรัมย์ ชุมแพ กันทรวิชัย เขมราฐ นาดูน
                                                                         โนนไทย พล วังไห
                       เหมาะสมปานกลาง    สภาพให้ซึมได้ของดิน      2k     บ้านไผ่ ชํานิ จันทึก ห้วยแถลง โคราช

                                         (0.5 – 5 cm/hr)                 มหาสารคาม นครพนม ร้อยเอ็ด เรณู
                                                                         สีคิ้ว สูงเนิน ศรีสงคราม ท่าตูม อุบล

                                         สภาพให้ซึมได้ของดิน และ  2kt    ภูเรือ
                                         ความลาดชัน 8 - 15%

                       ไม่เหมาะสม        สภาพให้ซึมได้ของดิน      3k     บุณฑริก เชียงคาน ชุมพลบุรี ชุมพวง
                                         (มากกว่า 5 cm/hr)               จอมพระ ด่านซ้าย เลย น้ําพอง โพนพิสัย
                                                                         ปลาปาก ปักธงชัย ธาตุพนม ท่าอุเทน
                                                                         วาริน วังสะพุง ยางตลาด ยโสธร

                                         ความลึกของชั้นซาบซึมน้ํา   3m   จัตุรัส
                                         ตื้นกว่า 90 ซม.
   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145