Page 39 - ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document)
P. 39
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
2-25
จากนั้นนักวิเคราะห์ระบบจะต้องศึกษากิจกรรมการท างานต่าง ๆ ของระบบว่ากิจกรรมใด
เปลี่ยนแปลงได้ กิจกรรมใดเปลี่ยนแปลงไม่ได้ รวมถึงกฎระเบียบและเงื่อนไขการท างานต่าง ๆ ขององค์กร เพื่อ
ก าหนดขอบเขตการท างาน
2.6.2 ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาความเป็นไปได้ (Feasibility Study)
การศึกษาความเป็นไปได้ เป็นการศึกษาถึงแนวทางความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมา
ใช้งาน โดยการศึกษาความเป็นไปได้นั้นจะท าให้สามารถได้บทสรุปของการพัฒนาระบบ ซึ่งนักวิเคราะห์จะต้อง
ศึกษาความเป็นไปได้จาก 3 ข้อดังนี้
1) ความเป็นไปได้ด้านเทคนิค (Technically Feasibility)
การศึกษาความเป็นไปได้ทางด้านเทคนิค คือ การวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านเทคนิคเพื่อให้
ทราบว่าสามารถพัฒนาระบบใหม่ได้หรือไม่ โดยจะต้องวิเคราะห์ความรู้ความสามารถของทีมงานด้วยว่ามี
ความรู้ความช านาญหรือความเชี่ยวชาญพอที่จะแนะน าเทคนิคและเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาระบบใหม่
หรือไม่ ทั้งนี้นักวิเคราะห์ระบบจะต้องส ารวจอุปกรณ์ภายในองค์กรว่ามีอะไรบ้าง เช่น คอมพิวเตอร์ ระบบ
เครือข่าย เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ รวมไปถึงซอฟต์แวร์ที่ใช้ ถ้าเทคโนโลยีที่มีไม่สามารถรองรับการ
ท างานของระบบใหม่ได้ จะต้องจัดหาอุปกรณ์ใหม่ โดยนักวิเคราะห์จะต้องจัดหาอุปกรณ์ที่สามารถรองรับ
เทคโนโลยีและการขยายตัวขององค์กรในอนาคตได้ รวมถึงต้องค านึงถึงประสิทธิภาพการท างานของอุปกรณ์
ทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ด้วยว่าสามารถท างานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
2) ความเป็นไปได้ด้านการปฏิบัติ (Operational Feasibility)
ความเป็นไปได้ด้านการปฏิบัติ ควรค านึงถึงผู้ใช้ระบบ ว่ามีความสามารถใช้งานระบบใหม่
ได้หรือไม่และมีความพึงพอใจแค่ไหน ยกตัวอย่างเช่น ผู้ใช้ทราบถึงจุดประสงค์ในการพัฒนาระบบใหม่หรือไม่
และผู้ใช้สนับสนุนการสร้างระบบใหม่หรือไม่ อย่างไร ผู้ใช้สามารถใช้งานระบบใหม่ได้หรือไม่ อย่างไร จะต้อง
เตรียมอะไรบ้างในการฝึกอบรมการใช้งานให้กับผู้ใช้ระบบ เป็นต้น
3) ความเป็นไปได้ด้านเศรษฐกิจ (Economic Feasibility)
ความเป็นไปได้ด้านเศรษฐกิจ เป็นการคิดค านวณเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในการพัฒนา
ระบบใหม่ขึ้นมาใช้งาน ว่าจะต้องใช้เงินเท่าไหร่ และจะคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ ซึ่งคิดจากผลประโยชน์ที่จะ
ได้รับที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินหลังจากที่น าระบบใหม่เข้ามาใช้งาน หลังจากที่ทราบถึงความเป็นไปได้ใน
การพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมาใช้งานแล้ว นักวิเคราะห์ระบบจะต้องจัดท ารายงานเสนอต่อผู้บริหาร เพื่อให้ผู้บริหาร
พิจารณาตัดสินใจว่าจะหยุดหรือจะด าเนินการพัฒนาระบบใหม่ต่อไป
2.6.3 ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ระบบ
การวิเคราะห์ระบบ (System analysis) เป็นการศึกษาระบบการท างานขององค์กร ว่าระบบ
ท างานอะไร ท าเมื่อไหร่ ท าอย่างไร และได้ผลลัพธ์อะไรจากการท างานแต่ละขั้นตอน รวมถึงศึกษาปัญหาที่ได้
จากขั้นตอนที่ 1 ของระบบอย่างละเอียด ซึ่งการศึกษาระบบอาจใช้วิธีที่หลากหลาย เช่น
การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์การท างาน การใช้แบบสอบถาม รวมถึงการศึกษาจากเอกสาร
การท างานต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ทราบรายละเอียดการท างานของระบบทั้งหมด
จากการศึกษาข้างต้นท าให้นักวิเคราะห์ระบบทราบเป้าหมายหรือจุดประสงค์ของการสร้าง
ระบบใหม่ ซึ่งเป้าหมายหรือจุดประสงค์ดังกล่าวจะได้จากปัญหาที่ศึกษาข้างต้นรวมถึงความต้องการของผู้ใช้