Page 51 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินทรายชายทะเลเพื่อปลูกคะน้าในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 51

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        40







                       ลักษณะเป็นดินทราย (อ านาจ, 2548) โดยการขาดธาตุโพแทสเซียมจะท าให้ขอบใบมีสีซีด
                       (chlorosis) กลายเป็นสีน้ าตาล และแห้งไปในที่สุด โดยอาการจะเริ่มจากปลายใบสู่โคนใบ และจะเกิด
                       ที่ใบแก่ก่อนใบอ่อน ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนในข้าวโพด และพืชตระกูลหญ้า   ในส่วนของธาตุอาหารรอง
                       คือ แคลเซียม และแมกนีเซียม จะอยู่ในระดับสูง


                               3.5 ค่าพีเอชของดิน
                                         ค่าพีเอชของดินก่อนการทดลองอยู่ที่  4.8  ซึ่งอยู่ในระดับเป็นกรดจัด หลังจาก

                       ด าเนินการทดลองพบว่าทุกต ารับการทดลองสามารถท าให้ดินมีปริมาณค่าความเป็นกรด และด่างของ
                       ดินเพิ่มขึ้นได้ โดยทุกต ารับการทดลองสามารถท าให้ค่าความเป็นกรดและด่าง อยู่ในระดับที่ใกล้เคียง
                       กัน โดยมีค่าพีเอชอยู่ที่  5.5   แม้แต่ต ารับการทดลองที่ 1 ซึ่งเป็นต ารับควบคุม  แสดงให้เห็นว่าการ

                       ด าเนินกิจกรรมทางการเกษตรเช่นการปลูกพืช จะท าให้มีค่าพีเอช ในดินเพิ่มขึ้นได้ แม้ว่าจะไม่มีการใส่
                       ปุ๋ยใด ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการหลงเหลือของเศษซากพืช ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มค่าพีเอช ในดิน (ภาพที่ 10)
                       ซึ่งค่าที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลต่อการดูดธาตุอาหารต่าง ๆ ของพืชไปใช้ประโยชน์ในการปลูกพืชครั้งต่อ ๆ ไป
                       ซึ่งการที่ดินที่ด าเนินการศึกษาแสดงความเป็นกรดนั้น แสดงถึงลักษณะของดินทั่วไป ที่จะพบในเขต

                       ร้อนที่มีพัฒนาการค่อนข้างดี และมีการชะล้างสูง โดยดินที่เป็นกรดมาก แสดงถึงมีการชะล้างที่มาก
                       และมีพัฒนาการค่อนข้างสูงด้วย (Sanchrz, 1976 ; Eiumnoh, A. 1984) ซึ่งกระบวนการชะล้างจะ
                       ท าให้เบสต่างๆ เคลื่อนย้ายออกไปจากหน้าดินท าให้เกิดการสะสมของแคตไอออนที่มีฤทธิ์เป็นกรด
                       ได้แก่ ไฮโดรเจน เหล็ก อะลูมินัม ที่ผิวอนุภาคดินเป็นจ านวนมาก (Zhang et al, 2006)

                               3.6 ค่าความน าไฟฟ้า  (เดซิซีเมนต่อเมตร)

                                         ค่าความน าไฟฟูาก่อนการทดลองมีค่าเท่ากับ  0.17 เดซิซีเมนต่อเมตร   โดยทุกต ารับ

                       การทดลองมีปริมาณค่าความน าไฟฟูาอยู่ในระดับที่สูงขึ้นใกล้เคียงกันกับค่าการน าไฟฟูาก่อนการ
                       ทดลอง (ภาพที่ 11)  โดยในต ารับการทดลองที่ 4  คือ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรไนโตรเจน
                       600 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับ ปุ๋ยเคมีสูตร  0-0-60  จ านวน 5  กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งเป็นต ารับการทดลองที่
                       มีการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ในปริมาณที่มากที่สุด จะท าให้มีปริมาณค่าความน าไฟฟูาเหลืออยู่ในดิน

                       หลังการทดลองมากที่สุด คือที่ 0.43 เดซิซีเมนต่อเมตร

                                 3.7 ความเหมาะสมของดินหลังจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
                                         จากการวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารในปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่ผลิตขึ้น พบว่ามีปริมาณ

                       ธาตุอาหารหลักต่างๆ ในปริมาณที่มากกว่าความต้องการของต้นผักคะน้า โดยเมื่อด าเนินการใส่ปุ๋ย
                       อินทรีย์คุณภาพสูงที่ผลิตขึ้น และการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงร่วมกับปุ๋ยเคมี พบว่าสามารถเพิ่ม
                       ปริมาณอินทรียวัตถุในดินได้ทุกต ารับการทดลอง โดยต ารับการทดลองที่มีปริมาณอินทรียวัตถุมาก
                       ที่สุด คือการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงตามค าแนะน าของกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งเป็นการใช้ปุ๋ยอินทรีย์

                       คุณภาพสูงสูตรไนโตรเจน  จ านวน 100 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงสูตรฟอสฟอรัส
                       จ านวน  50  กิโลกรัมต่อไร่ โดยสามารถเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดินได้เฉลี่ย 2.08 เปอร์เซ็นต์ ใน
                       ส่วนของปริมาณธาตุอาหารหลักคือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม พบว่าทุกต าหรับการ
                       ทดลองส่งผลให้มีธาตุอาหารต่างๆ ในดินมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าจะมีปริมาณธาตุอาหารน้อยกว่า
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56