Page 15 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินทรายชายทะเลเพื่อปลูกคะน้าในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 15

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         4







                       ลาดชันมากกว่า  35  เปอร์เซ็นต์  จะพบเป็นแนวตั้งแต่ด้านทิศเหนือมาด้านทิศตะวันออกลงมาทางทิศ
                       ใต้ของพื้นที่  โดยยอดสูงสุดอยู่ที่เขาหมูดุด  สูงจากระดับน้ าทะเลปานกลาง  212  เมตร  ปากอ่าวกว้าง
                       ประมาณ 650 เมตร ความกว้างของอ่าวประมาณ 2.6 กิโลเมตร ยาว 4.6 กิโลเมตร มีความลึกสูงสุด
                       8 เมตร อ่าวดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า อ่าวคุ้งกระเบน มีเนื้อที่ประมาณ 4,000 ไร่ พื้นที่บริเวณรอบๆ อ่าว

                       มีลักษณะเป็นที่ราบ  รอบอ่าวมีปุาชายเลนขึ้นกระจายอยู่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์โค้งไปตามขอบอ่าวเป็น
                       แนวยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ความกว้างของแนวปุาโดยเฉลี่ยประมาณ 30-200 เมตร และมีคลอง
                       สายสั้นๆ 7 สาย ไหลผ่านปุาชายเลนออกไปสู่อ่าวคุ้งกระเบน

                               1.2 สภาพทางธรณีสัณฐานและวัตถุต้นก าเนิดดิน
                                     สภาพทางธรณีสัณฐานและวัตถุต้นก าเนิดดินที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันในพื้นที่
                       ที่ท าการส ารวจ (ภาพที่ 2) สามารถแบ่งออกได้เป็นหมวดหมู่ ได้ดังนี้ (SOIL SURVEY STAFF, 2014)
                                     - หาดทรายชายทะเล พบเกิดเป็นแนวยาวขนานไปกับชายฝั่งทะเล โดยมีความ
                       กว้างของหาดหรือสันทรายไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับลักษณะของชายฝั่งทะเล หาดทรายและเนินทราย

                       เหล่านี้เกิดขึ้นโดยการกระท าของคลื่นและลมที่พัดเอาทรายและเปลือกหอยต่างๆ ไปกองสะสมไว้
                       ดินที่พบในบริเวณหาดและสันทรายเหล่านี้ ส่วนใหญ่มีพื้นที่ กว้างประมาณ 300  เมตร และยาว
                       ประมาณ 2.5 กิโลเมตร ดินเป็นดินทรายจัดและบางแห่งพบเปลือกหอยปะปนอยู่ในเนื้อดิน

                                     - ที่ราบลุ่มน้ าทะเลขึ้นถึง มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล ขอบอ่าว เป็น
                       ชายฝั่งที่มีการขึ้นลงเป็นประจ าของน้ าทะเล วัตถุต้นก าเนิดของดินเป็นพวกตะกอนทะเลกับเศษ
                       ซากพืชที่เกิดจากการสลายตัวผุพังของพืชปุาชายเลนปะปนกับเนื้อดินซึ่งโดยมากเป็นอินทรียวัตถุ
                       ที่เรียกว่าพีท (PEAT)  แต่ขอบอ่าวทางใต้ที่ติดกับหาดทรายจะมีเป็นปุาชายเลนเป็นดินทรายสีเทา

                       ด าปะปนกับเศษเปลือกหอย

                                        - ที่ราบลุ่มหลังสันทราย บริเวณนี้เกิดถัดเข้ามาจากที่ราบน้ าทะเลท่วมถึง ซึ่งเป็น
                       รอยต่อระหว่างหาดทรายชายทะเลและที่ราบลุ่มน้ าทะเลขึ้นถึงกับแผ่นดินที่อาจเป็นชายหาดเก่า

                       และที่ลาดเชิงเขาที่อยู่ทางทิศตะวันออกของพื้นที่ ลักษณะเป็นดินที่มีการระบายน้ าเลว มีน้ าแช่ขัง
                       ในฤดูฝน และมีเนื้อดินเป็นทรายแต่อาจมีดินร่วนหรือดินร่วนเหนียวสลับอยู่เป็นชั้นบางๆ และจะ

                       พบเศษเปลือกหอยทะเลตลอดในทุกชั้นดิน พื้นที่เหล่านี้มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ถูกเปลี่ยนเป็น
                       พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ า ภายใต้การส่งเสริมและพัฒนาของศูนย์ฯ ที่เหลืออาจใช้ท านาหรือปล่อยให้

                       เป็นที่รกร้างว่างเปล่ามี ต้นธูปฤาษี หญ้าชันกาด ขลู่ ปรงทะเล และกก ขึ้นอยู่ทั่วไป

                                          -  พื้นที่หาดทรายเก่า พบทางเหนือของโครงการพืชพรรณที่ขึ้นส่วนใหญ่เป็น
                       เสม็ด ดินที่พบเป็นดินทรายจัดและที่ความลึกประมาณ 50  ถึง 150  เซนติเมตร จะพบชั้นดาน
                       อินทรีย์ ซึ่งเป็นดินทรายสีน้ าตาลที่มีการสะสมสารประกอบของอินทรียวัตถุและเหล็กที่ถูกชะล้าง

                       จากดินชั้นบน ชั้นที่อยู่เหนือของชั้นดานอินทรีย์นี้เป็นดินทรายสีขาวซึ่งมีแร่ธาตุอาหารพืชน้อยมาก
                       พื้นที่บางบริเวณจะอยู่ติดกับหาดทรายทะเลซึ่งจะพบบริเวณทางตอนใต้ของอ่าวคุ้งกระเบน
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20