Page 14 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินทรายชายทะเลเพื่อปลูกคะน้าในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 14

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         3







                                                        การตรวจเอกสาร



                       1. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชด าริ

                              ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชด าริ ได้เริ่มก่อตั้งตาม

                       พระราชด าริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  ในคราวที่เสด็จ
                       พระราชด าเนินประกอบพิธีเปิดพระบรมราชานุเสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่จังหวัด
                       จันทบุรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2524 โดยมีพระราชด าริแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี และได้
                       พระราชทานเงินที่ราษฎรจังหวัดจันทบุรีร่วมทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายโดยเสด็จพระราชกุศลใน

                       โอกาสดังกล่าว เป็นทุนริเริ่มด าเนินการ ต่อมาเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2524 พระบาทสมเด็จพระ
                       ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  ได้มีพระราชด าริเพิ่มเติม  ณ พระต าหนักจิตรลดา
                       รโหฐาน สาระโดยสรุปว่า
                              "…ให้พิจารณาจัดหาพื้นที่ปุาสงวนเสื่อมโทรมหรือพื้นที่สาธารณประโยชน์เพื่อจัดตั้งศูนย์

                       ศึกษาการพัฒนาเช่นเดียวกับศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ให้เป็นศูนย์ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนา
                       ในเขตที่ดินชายทะเล…”
                              จังหวัดจันทบุรีจึงได้ร่วมหารือกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและพิจารณาความเหมาะสมจึง
                       ก าหนดพื้นที่ต าบลคลองขุด อ าเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นพื้นที่จัดตั้งศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้ง

                       กระเบนฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ศูนย์ศึกษาดังกล่าว เป็นหน่วยงานที่ด าเนินการศึกษาสาธิต และการ
                       พัฒนาในเขตที่ดินชายทะเลโดยวิธีการผสมผสานความรู้อันหลากหลายของแต่ละหน่วยงานเพื่อ
                       วางแผนพัฒนาการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เหมาะสมและยั่งยืนตลอดไป (ส านักงาน กปร, 2559)

                               1.1 ที่ตั้งและลักษณะภูมิประเทศ
                                         ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชด าริ  (2554)  ได้รายงาน

                       ว่า  ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนฯ  ตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย
                       ห่างจากกรุงเทพฯ มาทางตะวันออกเป็นระยะทาง 236 กิโลเมตร เดินทางด้วยถนนสุขุมวิท จนถึงหลัก
                       กิโลเมตรที่  302  เลี้ยวขวาจากปากทางหนองสีงาเป็นระยะทาง  26.7  กิโลเมตร  ครอบคลุมพื้นที่

                       บางส่วนของอ าเภอท่าใหม่  และอ าเภอนายายอาม  โดยครอบคลุม  6  หมู่บ้าน  ได้แก่  บ้านท่าแคลง
                       ต าบลสนามไชย  อ าเภอนายายอาม  บ้านคลองขุดบน  บ้านคลองขุดล่าง  บ้านเนินประดู่  บ้านหมูดุด
                       บ้านคุ้งกระเบน ต าบลคลองขุด อ าเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี มีพื้นที่  8,015  ไร่ สภาพภูมิประเทศ
                       ส่วนใหญ่  เป็นพื้นที่ลุ่มน้ าขนาดเล็ก  และเป็นแผ่นดินขนานไปกับอ่าว  ที่มีลักษณะเป็นรูปไต  โดยมี

                       ปากอ่าวอยู่ทางทิศตะวันตกทะลุออกอ่าวไทย  และมีภูเขาบริเวณปากอ่าวทั้งสองข้างซึ่งเรียกว่าแหลม
                       หินคัน  และเขาคุ้งกระเบน  ที่มีลักษณะเป็นหัวแหลมผาชัน  (head  land)  ทางด้านทิศตะวันออกมี
                       ภูเขาทอดตัวไปตามแนวทิศเหนือทอดตัวไปทางใต้  ยาวไปจนจรดอ่าวไทย  สภาพพื้นที่รอบอ่าวมี
                       ลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 2-5 เปอร์เซ็นต์  พื้นที่ที่มีลักษณะลูกคลื่นลอน

                       ลาด มีความลาดชัน 5-12 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะพบในบริเวณที่ติดกับภูเขา ส่วนพื้นที่ที่มีลักษณะค่อนข้าง
                       ราบเรียบมีความลาดชัน  0-2  เปอร์เซ็นต์  จะพบในบริเวณตอนกลาง  และทิศตะวันออกของพื้นที่
                       บริเวณติดกับอ่าวคุ้งกระเบน และบริเวณสันทรายทางด้านทิศใต้ของพื้นที่ ส่วนพื้นที่ที่เป็นภูเขามีความ
   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19