Page 12 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ในดินทรายชายทะเลเพื่อปลูกคะน้าในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
P. 12

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         1







                                                       หลักการและเหตุผล

                              จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่อยู่ในภาคตะวันออกของประเทศ มีพื้นที่ทั้งหมด 3,961,250 ไร่

                       เป็นพื้นที่เกษตรกรรมจ านวน 2,054,326 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 51.86 ของพื้นที่ทั้งหมด ประชากรส่วน
                       ใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกร โดยเป็นไม้ยืนต้นถึงร้อยละ 73 ของพื้นที่การเกษตร (ส านักงานจังหวัด
                       จันทบุรี, 2546) จันทบุรีอยู่ในเขตภาคตะวันออกติดชายฝั่งทะเล จึงมีปริมาณน้ าฝนในพื้นที่ค่อนข้างสูง

                       มีการเสื่อมโทรมของดินที่เกิดจากปัญหาการชะล้างพังทลายของดิน ประกอบการกับการใช้ที่ดินของ
                       เกษตรกรที่ไม่เหมาะสมจึงท าให้เร่งการเสื่อมโทรมของดิน นอกจากนี้ในกระบวนการผลิตทางการ
                       เกษตรส่วนใหญ่มีต้นทุนการผลิตสูงและเป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม คือ การใช้สารเคมีทางการเกษตรไม่ว่า
                       จะเป็นปุ๋ยเคมี สารเคมีฆ่าแมลง สารเคมีก าจัดวัชพืช เป็นต้น ซึ่งสารเคมีเหล่านี้ส่วนใหญ่ต้องน าเข้า

                       จากต่างประเทศทั้งสิ้น ท าให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรสูงขึ้นมีผลต่อการขาดทุน อีกทั้งสารเคมีที่ใช้
                       ยังมีผลต่อสุขภาพของผู้ผลิต ผลผลิตมีการปนเปื้อนสารพิษและส่งผลโดยตรงต่อผู้บริโภค และที่ส าคัญ
                       อีกประการหนึ่งคือท าให้ดินที่ใช้ในการเกษตรนั้นเสื่อมโทรมและขาดความอุดมสมบูรณ์   จากที่กล่าว
                       มารัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความส าคัญดังกล่าวจึงได้มีนโยบายสนับสนุนให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมีทาง

                       การเกษตรและส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพที่สามารถผลิตได้เองจากวัสดุเหลือใช้ในชุมชน
                       โดยได้ประกาศให้เกษตรอินทรีย์เป็นวาระแห่งชาติ มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนระบบการ
                       ผลิตที่พึ่งพาปุ๋ยเคมี และสารเคมีต่าง ๆ ในการเกษตรแต่เพียงอย่างเดียว มาเป็นระบบการพึ่งพาตัวเอง
                       ให้มากขึ้น โดยการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และสารชีวภาพเพื่อใช้เองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โดยค านึงถึง

                       ความปลอดภัยของเกษตรกรและผู้บริโภค อีกทั้งเป็นการฟื้นฟูระบบนิเวศของดินและ
                       ทรัพยากรธรรมชาติที่มีในพื้นที่
                                  พื้นที่ด าเนินการอยู่ภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชด าริ
                       ซึ่งเป็นหนึ่งในหกของศูนย์ศึกษาอันเนื่องมาจากพระราชด าริ ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิ

                       พลอดุลยเดช บรมนาถบพิตรทรงมีพระราชด าริ ให้จัดตั้งเพื่อจัดท าโครงการพัฒนาด้านอาชีพการ
                       ประมง และการเกษตรในเขตพื้นที่ดินชายฝั่งทะเลจันทบุรี โดยได้ด าเนินงานด้านการอนุรักษ์ การ
                       จัดการทรัพยากรชายฝั่ง การส่งเสริม และพัฒนาอาชีพราษฎรของศูนย์ฯ จัดท าแปลงสาธิตด้าน
                       การเกษตร การปลูกพืชชนิดต่างๆ เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับเกษตรกรที่สนใจ ซึ่งส่วนใหญ่ทางศูนย์ศึกษา

                       จะส่งเสริมการปลูกพืชผักต่างๆ ทั้งนี้เพื่อท าให้เกษตรกรมีรายได้หมุนเวียนตลอดทั้งปี เช่น ผักกวางตุ้ง
                       ใบ ผักบุ้ง ผักฮ่องเต้ และผักคะน้า  เป็นต้น  โดยปัญหาที่พบในการจัดท าแปลงสาธิตการปลูกพืชผัก
                       ต่างๆ ก็คือดินที่จัดท าแปลงส่วนใหญ่เป็นดินทรายชายทะเล ที่มีสภาพไม่เหมาะสมกับการปลูกพืช ท า

                       ให้พืชผักที่ได้มีผลผลิตต่ า ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะหากจะมีการส่งเสริมให้เกษตรกรใน
                       พื้นที่ปลูก เพื่อส่งตลาดโรงแรม ที่พักต่างๆ ที่มีความต้องการผลผลิตผักต่างๆ เป็นจ านวนมาก การ
                       ปลูกผักในพื้นที่ดินทรายจัดซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า มีความจ าเป็นต้องเพิ่มธาตุอาหารในดินโดยการ
                       ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุ ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินมีการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงที่มี
                       ปริมาณธาตุอาหารพืชค่อนข้างสูง โดยในการทดลองนี้เป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยการ

                       ใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง ร่วมกับปุ๋ยเคมี ตามกรอบแนวคิด (ภาพที่ 1)  เพื่อเพิ่มการเจริญเติบโตและ
                       ผลผลิตของผักคะน้า และเพิ่มศักยภาพของดินทรายให้สามารถใช้ปลูกพืชผักได้ต่อไป
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17