Page 42 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุดดินบางกอก
P. 42

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        32







                                  1.2.6 ผลผลิตคะน้า จากการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง และปุ๋ยเคมี
                       สูตรต่างๆ มีผลให้ผลผลิตคะน้า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญยิ่งทางสถิติ กล่าวคือ การใส่ปุ๋ย

                       ตามวิธีเกษตรกร สูตร 25-7-7 อัตรา 160 กิโลกรัมต่อไร่ มีผลให้ผลผลิตสูงสุดเท่ากับ 2,633 กิโลกรัม
                       ต่อไร่ แต่ไม่แตกต่างกับการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 44 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ผลผลิตเท่ากับ 2,380

                       กิโลกรัมต่อไร่รองลงมา และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยส าคัญยิ่งทางสถิติกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์
                       คุณภาพสูง การใส่ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 34 กิโลกรัมต่อไร่ และการไม่ใส่ปุ๋ย ให้ผลผลิตเฉลี่ยเท่ากับ

                       1,273 1,267 และ 1,069 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล าดับ (ตารางที่ 7)

                                  จากการทดลอง จะเห็นได้ว่าการใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร สูตร 25-7-7 อัตรา 160 กิโลกรัมต่อไร่
                       เป็นวิธีการที่ท าให้ คะน้ามีการตอบสนองต่อการใส่ปุ๋ยได้ดีกว่าทุกวิธีการ เนื่องจากคะน้าได้รับธาตุอาหารหลัก

                       จากการใส่ปุ๋ยได้ครบทั้ง 3 ธาตุ (N-P-K)  โดยมีปริมาณไนโตรเจนเท่ากับ 40 กิโลกรัมต่อไร่ ปริมาณฟอสฟอรัส

                       เท่ากับ 11.2 กิโลกรัมต่อไร่ และปริมาณโพแทสเซียมเท่ากับ 11.2 กิโลกรัมต่อไร่ (ตารางภาคผนวกที่ 8) และ
                       ได้รับธาตุอาหารจากดินอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งมีปริมาณ P และ K  ที่สะสมตกค้างในดินอยู่ในปริมาณมาก ขณะที่คะน้า

                       เป็นพืชกินใบและล าต้นที่มีความต้องการธาตุอาหารหลักที่เหมาะสมโดยที่มีสัดส่วน 2:1:1 และผักคะน้าเป็นพืชที่
                       ต้องการธาตุอาหารไนโตรเจนมากกว่าฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมถึง 2 เท่า การปลูกผักตระกูล Brassica  เช่น

                       คะน้าในหนึ่งฤดูปลูกมีความต้องการธาตุอาหารประกอบด้วย ไนโตรเจน 9-16 กิโลกรัมต่อไร่ ฟอสฟอรัส 1.5-2
                       กิโลกรัมต่อไร่ และโพแทสเซียม 15-25 กิโลกรัมต่อไร่

                                  ดังนั้น การใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกรท าให้คะน้าได้รับธาตุอาหารจากการใส่ปุ๋ยเคมีและจากดิน

                       ในปริมาณมากเกินความต้องการของพืช ท าให้วิธีการดังกล่าวได้รับผลผลิตของคะน้าสูงสุดเท่ากับ 2,633
                       กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์สูตร 46-0-0 คะน้าได้รับธาตุอาหารหลักจากการใส่ปุ๋ย คือ

                       ไนโตรเจนเพียงธาตุเดียวในปริมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ในดินนั้นมีธาตุ P  และ K  สะสมในดินมีปริมาณมาก

                       และดินก่อนการทดลองสภาพดินมีความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสม จึงมีการปลดปล่อยธาตุ P  และ K  ได้มาก
                       ยิ่งขึ้น ปริมาณธาตุอาหารที่พืชได้รับปริมาณมากเพียงพอกับความต้องการของคะน้า ท าให้คะน้ามีผลผลิตสูง

                       รองลงมาเป็นอันดับ 2 ส่วนการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง (สูตรไนโตรเจน) อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่ พืชได้รับธาตุ
                       อาหาร 3 ธาตุจากการใส่ปุ๋ย ซึ่งปริมาณไนโตรเจน เท่ากับ 4.13 กิโลกรัมต่อไร่ ปริมาณฟอสฟอรัส เท่ากับ 5.41

                       กิโลกรัมต่อไร่ และปริมาณโพแทสเซียม เท่ากับ 2.87 กิโลกรัมต่อไร่ และได้รับจากดินอีกส่วนหนึ่ง แต่มีปริมาณ
                       ไม่เพียงพอกับความต้องการของคะน้า ท าให้คะน้าได้รับผลผลิตมีผลผลิตรองลงมาเป็นอันดับ 3 เท่ากับ 1,273

                       กิโลกรัมต่อไร่ มีผลผลิตใกล้เคียง และไม่แตกต่างจากการใส่ปุ๋ยเคมีตามค าแนะน าสูตร   15-15-15 ที่ได้รับธาตุ

                       อาหารจากการใส่ปุ๋ยทั้ง N,  P  และ K  ในแต่ละธาตุเท่ากับ 5.1 กิโลกรัมต่อไร่ (ตารางภาคผนวกที่ 8) มีผลผลิต
                       เท่ากับ 1,267 กิโลกรัมต่อไร่  จะเห็นได้ว่าเมื่อพิจารณาปริมาณธาตุอาหาร และผลผลิตทีได้รับ ระหว่างการใส่ปุ๋ย

                       อินทรีย์คุณภาพสูง และการใส่ปุ๋ยเคมีตามค าแนะน า นั้นมีค่าใกล้เคียงกัน ดังนั้นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง

                       สามารถใช้ทดแทนการใส่ปุ๋ยเคมีได้ ส่วนการไม่ใส่ปุ๋ยเป็นวิธีการที่คะน้าได้รับธาตุอาหารจากดินเพียงเท่านั้น ท า
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47