Page 45 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุดดินบางกอก
P. 45

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                        35







                       ตารางที่ 8  ต้นทุนและผลตอบแทนของการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตร
                                           ต่างๆ การทดลองปี 2557

                                                          ผลผลิต     ต้นทุน    รายได้   ผลตอบแทน   อัตราส่วน
                                                       (กิโลกรัมต่อไร่)   การผลิต   (บาทต่อไร่)  (บาทต่อไร่)   รายได้ต่อ
                                   วิธีการ                 (1)      (บาทต่อไร่)   (3)   (4)=(3)-(2)   ต้นทุน
                                                                      (2)                         (B/C Ratio)

                       ไม่ใส่ปุ๋ย                         1,069      10,860    19,242     8,382     1.77
                       ปุ๋ยเคมี 15-15-15 อัตรา 34 กิโลกรัมต่อไร่   1,267   11,708   22,806   11,098   1.95
                       ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง  อัตรา 100 กิโลกรัมต่อไร่   1,273   12,110   22,914   10,804   1.89
                       ปุ๋ยเคมี 46-0-0 อัตรา 44 กิโลกรัมต่อไร่   2,380   11,801   42,840   31,039   3.63
                       ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร  25-7-7     2,633      14,150    47,394    33,244     3.34
                       อัตรา 160 กิโลกรัมต่อไร่


                       2.  การทดลองปี 2558

                                  เนื่องจากได้เลือกพื้นที่ด าเนินการใหม่แต่ยังอยู่ในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่เดิมและอยู่ภายใน

                       ศูนย์ฯ เช่นเดียวกัน เป็นพื้นที่ที่เคยมีการปรับปรุงเพิ่มอินทรียวัตถุด้วยการปลูกปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสด
                       และปรับสภาพดินกรดด้วยปูนโดโลไมท์ เป็นพื้นที่ปลูกผักในระบบเกษตรเคมีที่มีอัตราการใช้ปุ๋ยที่สูง

                       อย่างต่อเนื่อง จึงท าให้ดินเกิดการสะสมตกค้างของธาตุฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมจากการใส่ปุ๋ยเคมี

                       อยู่ในระดับที่สูงมากเช่นเดียวกับพื้นที่การทดลองปีที่ 1 (ตารางที่ 9)
                                  2.1  การเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดิน

                                         2.1.1 สมบัติทางเคมีของดินก่อนการทดลอง จากการวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของ

                       ดิน พบว่าค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินเฉลี่ยเท่ากับ 7.38 เป็นดินมีสภาพเป็นกลาง มีปริมาณ
                       อินทรียวัตถุในดิน เฉลี่ยเท่ากับ 2.35 เปอร์เซ็นต์ จัดว่ามีปริมาณอินทรียวัตถุในดินระดับปานกลาง

                       ค่าการน าไฟฟ้าของดิน เฉลี่ยเท่ากับ 0.81 เดซิซีเมนส์ต่อเมตร จัดอยู่ในระดับเค็มปานกลาง มีปริมาณ

                       ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดิน เฉลี่ยเท่ากับ 480 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งอยู่ในระดับสูง ปริมาณ
                       โพแทสเซียมที่เป็นประโยชน์ในดิน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 275 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมจัดอยู่ในระดับสูง

                       เช่นเดียวกัน เนื่องจากพื้นที่ทีใช้ในการทดลองเคยผ่านการปลูกผักในระบบเกษตรเคมีที่มีการใช้ปุ๋ยเคมี
                       สูตร 25-7-7 ในอัตราที่สูงอย่างต่อเนื่อง จึงส่งผลให้ดินมีการสะสมของฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมที่

                       เป็นประโยชน์ในดินมีปริมาณมาก (ตารางที่ 9)
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50