Page 44 - ผลของปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงและปุ๋ยเคมีสูตรต่าง ๆ ต่อการปลูกคะน้าในชุดดินบางกอก
P. 44
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
34
1.3 ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ การทดลองปี 2557
จากการทดลอง พบว่าการใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร สูตร 25-7-7 อัตรา 160 กิโลกรัมต่อไร่
มีต้นทุนการผลิตสูงสุด 14,150.00 บาทต่อไร่ รองลงมาเป็นการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง อัตรา 100
กิโลกรัมต่อไร่ การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน สูตร 46-0-0 อัตรา 44 กิโลกรัมต่อไร่ และการใส่
ปุ๋ยเคมีตามค าแนะน าสูตร 15-15-15 อัตรา 34 กิโลกรัมต่อไร่ มีต้นทุนการผลิตเท่ากับ 12,110.00
11,801.00 และ 11,708.00 บาทต่อไร่ ตามล าดับ ส่วนการไม่ใส่ปุ๋ย มีต้นทุนการผลิตต่ าสุด เท่ากับ
10,860.00 บาทต่อไร่
ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ พบว่า การใส่ปุ๋ยตามวิธีเกษตรกร สูตร 25-7-7 ให้ผลตอบแทนสูงสุด เท่ากับ
33,244 บาทต่อไร่ รองลงมาคือ การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน สูตร 46-0-0 การใส่ปุ๋ยเคมี สูตร
1 5 -1 5 -15 และการใส่ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ เท่ากับ 31,039
11,098 และ 10,804 บาทต่อไร่ ตามล าดับ และการไม่ใส่ปุ๋ยต่ าสุดเท่ากับ 8,382 บาทต่อไร่
จากการทดลองพบว่า การใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร และวิธีการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน
มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจที่ใกล้เคียงกัน แต่เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลแล้ว พบว่าการใส่ปุ๋ยตามวิธี
เกษตรกรให้ผลผลิต และต้นทุนสูงสุด แต่มีอัตราส่วนรายได้ต่อต้น (B/C Ratio) ทุนเท่ากับ 3.34
ในขณะที่การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดิน ได้รับผลผลิตรองลงมา ซึ่งมีปริมาณที่ใกล้เคียงกัน และมี
ต้นทุนผลผลิตน้อยกว่า แต่มีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนที่มากกว่าเท่ากับ 3.63 จึงเป็นวิธีการที่คุ้มค่า
กับกับการลงทุนมากกว่าทุกวิธีการ (ตารางที่ 8)
จะเห็นได้ว่า การใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธีเกษตรกร สูตร 25-7-7 มีผลผลิต ต้นทุนการผลิต รายได้
ผลตอบแทน และอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนมีค่าสูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่นๆ ยกเว้น
อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนของการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินที่มีค่าสูงกว่าการใส่ปุ๋ยเคมีตามวิธี
เกษตรกร สูตร 25-7-7 อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาในแง่ของพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรที่ใช้
ในปริมาณมากเกินความต้องการของพืช และมีการใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อเร่งการเจริญเติบโตให้เพียงพอ
ต่อความต้องการของตลาด และท าให้เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตที่สูง (ไฉน, 2542) หากให้ปุ๋ยน้อย
เกินไปอาจจะท าให้เกิดอาการขาดธาตุอาหาร หรือธาตุอาหารไม่เพียงพอที่จะให้พืชน าไปใช้ในการ
เจริญเติบโต (ชวนพิศ, 2544) ในขณะที่การใส่ปุ๋ยเคมีตามค่าวิเคราะห์ดินเป็นการใส่ปุ๋ยที่มีธาตุ
ไนโตรเจนเพียงธาตุเดียว มีปริมาณไนโตรเจน 20 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม มี
การสะสม ตกค้างในดินปริมาณมากเพียงพอ จึงไม่จ าเป็นต้องเติมธาตุทั้ง 2 จากการใส่ปุ๋ย ส่งผลให้ลด
ต้นทุนในการซื้อปุ๋ยเคมีได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ พรนภา และคณะ (2560) เรื่อง
การประเมินอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ปลูกในชุดดินตาคลี พบว่าหากในดินมี
ปริมาณฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมสะสมในดินในระดับสู จึงควรงดการใส่ปุ๋ยฟอสฟอรัสและ
โพแทสเซียมเพื่อลดปริมาณการสะสมของธาตุอาหารทั้งสองในดิน เพราะนอกจากเป็นการสิ้นเปลือง
ปุ๋ยแล้วยังท าให้มีการสะสมของธาตุทั้งสองในปริมาณสูงอาจส่งผลกระทบต่อสมดุลของธาตุอาหาร
อื่นๆ ในดิน