Page 104 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองหวาย-คลองโพล้ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำประแสร์(รหัส 1805) ลุ่มน้ำหลักชายฝั่งทะเลตะวันออก(รหัส 18) พื้นที่ดำเนินการโครงการ บ้านคลองป่าไม้ หมู่ 6 บ้านเขาผักกูด หมู่ 7 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
P. 104

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                       78




                                    2) กลุ่มชุดดินที่ 7

                                    เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว ดินลึกมาก เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดิน
                   พวกตะกอนล าน้ า พบในบริเวณที่ราบตะกอนน้ าพา สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน
                   0-2 เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ าของดินค่อนข้างเลว มีน้ าท่วมขังในฤดูฝน ดินมีความสมบูรณ์ตามธรรมชาติ
                   ปานกลาง

                                    ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนเหนียว สีเทาแก่ มีจุดประสีเหลือง สีน้ าตาล ปฏิกิริยา
                   ดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.0-7.0 ส่วนดินล่างมีเนื้อดินเป็นดิน
                   เหนียว สีน้าตาลปนเทา สีเทา มีจุดประสีน้ าตาล สีเหลือง สีแดง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงเป็นด่าง
                   ปานกลาง ค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.5-8.0

                                    ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดิน: ขาดแคลนน้ าในระยะที่ฝนทิ้งช่วงนาน และน้ าท่วมขังใน
                   ฤดูฝน ท าความเสียหายกับพืชที่ไม่ชอบน้ า
                                    กลุ่มชุดดินที่ 7 ที่พบมีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ 899 ไร่ หรือร้อยละ 0.55
                   ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน

                                    3) กลุ่มชุดดินที่ 11
                                    เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว เป็นดินเปรี้ยวจัดที่พบในระดับลึกปานกลาง
                   เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวกตะกอนผสมของตะกอนล าน้ าและตะกอนน้ าทะเล พบในบริเวณที่ราบลุ่ม

                   สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ าของดินเลว มีน้ าท่วม
                   ขังในฤดูฝน ดินมีความสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ า
                                    ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว สีด า สีเทาแก่ มีจุดประสีเหลืองหรือสีน้ าตาล  ปฏิกิริยา
                   ดินเป็นกรดจัดมาก ค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5-5.0 ส่วนดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวหรือดิน
                   เหนียวปนทรายแป้ง สีเทา มีจุดประสีน้ าตาล สีเหลืองและสีแดง และมีจุดปะสีเหลืองฟางข้าวของ

                   สารประกอบก ามะถัน (จาโรไซต์) ในช่วงความลึก 50-100 เซนติเมตรจากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรด
                   รุนแรงมาก ค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 3.5-4.0 ชั้นดินล่างถัดไปภายในความลึก 150 เซนติเมตร
                   พบชั้นดินเลนเหนียวสีเทาปนน้ าเงินของตะกอนน้ าทะเลที่มีศักยภาพก่อให้เกิดเป็นดินกรดก ามะถัน ปฏิกิริยา

                   ดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดเล็กน้อย มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0-6.5
                                    ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดิน: เป็นดินเปรี้ยวจัดระดับลึกปานกลาง ขาดธาตุอาหารพืช
                   พวกไนโตรเจนและฟอสฟอรัส มีสารละลายพวกอะลูมินั่มและเหล็กเป็นปริมาณมากจนเป็นพิษต่อพืช
                   ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติต่ า คุณภาพน้ าเป็นกรดจัดมาก ขาดแคลนแหล่งน้ าจืด และน้ าท่วม

                   ขังในฤดูฝน ท าความเสียหายกับพืชที่ไม่ชอบน้ า
                                    กลุ่มชุดดินที่ 11 ที่พบมีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ 7,224 ไร่ หรือร้อยละ
                   4.41 ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน
                                   4) กลุ่มชุดดินที่ 13

                                   เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินเป็นดินเลนเหนียวเค็ม ดินลึกมาก เกิดจากการทับถมของ
                   ตะกอนน้ าทะเล ในบริเวณที่ราบลุ่มน้ าทะเลท่วมถึงเป็นประจ าและบริเวณชะวากทะเล จัดเป็นดินเลนเค็ม
                   ที่มีศักยภาพก่อให้เกิดเป็นดินกรดก ามะถัน สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2
                   เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ าของดินเลวมาก ดินมีความสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลางถึงสูง
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109