Page 106 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองหวาย-คลองโพล้ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำประแสร์(รหัส 1805) ลุ่มน้ำหลักชายฝั่งทะเลตะวันออก(รหัส 18) พื้นที่ดำเนินการโครงการ บ้านคลองป่าไม้ หมู่ 6 บ้านเขาผักกูด หมู่ 7 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
P. 106

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       80




                                   ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดิน: ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติต่ า ดินเป็นกรด

                   จัดมาก พื้นที่ค่อนข้างดอนจะขาดแคลนน้ าในระยะที่ฝนทิ้งช่วงนาน
                                   กลุ่มชุดดินที่ 17 ที่พบมีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์  มีเนื้อที่ 6,510 ไร่ หรือร้อยละ
                   3.98 ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน และ กลุ่มชุดดินที่ 17 พบบนพื้นที่สูง มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์  มีเนื้อที่
                   2,129 ไร่ หรือร้อยละ 1.30 ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน

                                   7) กลุ่มชุดดินที่ 23
                                   เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินทราย ดินลึกมาก เกิดจากการทับถมของตะกอน
                   ล าน้ าเนื้อหยาบในพื้นที่ลุ่มระหว่างสันทราย  สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2
                   เปอร์เซ็นต์ มีการพัฒนาการของดินน้อย การระบายน้ าของดินค่อนข้างเลว มีน้ าท่วมขังในฤดูฝน ดินมีความสมบูรณ์

                   ตามธรรมชาติต่ า
                                   ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินทรายปนดินร่วน สีเทา มีจุดประสีเหลือง สีน้ าตาล ปฏิกิริยาดิน
                   เป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.0-7.0 ส่วนดินล่างมีเนื้อดินเป็น
                   ดินทราย สีเทา มีจุดประสีเหลือง สีน้ าตาล บางแห่งในดินล่างที่ลึกลงไปมีเปลือกหอยปะปนอยู่ในเนื้อดิน

                   ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.0-7.0
                                   ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดิน: มีเนื้อดินเป็นดินทรายหนา ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                   ตามธรรมชาติต่ า ความสามารถในการอุ้มน้ าต่ า ขาดแคลนน้ าในระยะที่ฝนทิ้งช่วงนาน และน้ าท่วมขังใน

                   ฤดูฝน ท าความเสียหายกับพืชที่ไม่ชอบน้ า
                                   กลุ่มชุดดินที่ 23 ที่พบมีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ 778 ไร่ หรือร้อยละ 0.48
                   ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน
                                   8) กลุ่มชุดดินที่ 26
                                   เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว ดินลึกมาก เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ า

                   ที่เคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุที่มีอนุภาคดินเหนียวมาก พบในเขตดินชื้น สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงลูกคลื่น
                   ลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 0-5 เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ าของดินดีถึงดีปานกลาง ดินมีความสมบูรณ์
                   ตามธรรมชาติต่ า

                                   ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียวถึงดินร่วนเหนียวปนทรายหยาบ ดินลึกมาก
                   สีน้ าตาล สีแดงปนเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ
                   4.5-5.5 ส่วนดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวถึงดินเหนียวปนทรายหยาบ สีเหลือง สีแดง ปฏิกิริยาดินเป็น
                   กรดจัดมากถึงกรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5-5.5

                                   ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดิน: ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติต่ า ขาดแคลนน้ า
                   ในระยะฝนทิ้งช่วง และในพื้นที่มีความลาดชันดินง่ายต่อการถูกชะล้างพังทลายสูญเสียหน้าดิน
                                   กลุ่มชุดดินที่ 26 ที่พบมีความลาดชัน 0-5 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ 3,124 ไร่ หรือร้อยละ
                   1.91 ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน

                                   9) กลุ่มชุดดินที่ 32
                                   เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินทรายแป้ง ดินลึกมาก เกิดจากการทับถมของ
                   ตะกอนล าน้ าบริเวณตะพักล าน้ า พบในเขตดินชื้น ดินมีพัฒนาการมาก สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงเป็นลูกคลื่น
                   ลอนลาดเล็กน้อย มีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ าของดินดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตาม

                   ธรรมชาติปานกลาง
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111