Page 100 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองหวาย-คลองโพล้ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำประแสร์(รหัส 1805) ลุ่มน้ำหลักชายฝั่งทะเลตะวันออก(รหัส 18) พื้นที่ดำเนินการโครงการ บ้านคลองป่าไม้ หมู่ 6 บ้านเขาผักกูด หมู่ 7 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
P. 100

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       75




                                    7) เนินเขาและภูเขา (hill and mountain) พบกระจายตัวอยู่ทางทิศเหนือของพื้นที่

                   เป็นส่วนใหญ่ มีพื้นที่ไม่มากนัก สภาพภูมิประเทศมีความลาดชันสูง บางพื้นที่มีความลาดชันสูงมากกว่า 35
                   เปอร์เซ็นต์ พื้นที่ถูกควบคุมโดยโครงสร้างของชั้นหิน


                                 7.2.8 ทรัพยากรดิน
                                 ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรดินบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ าคลองหวาย-คลองโพล้
                   จังหวัดระยอง จากข้อมูลแผนที่ดิน มาตราส่วน 1:25,000 ของส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
                   (2551) พบว่าบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ าคลองหวาย-คลองโพล้ มีกลุ่มชุดดินที่ไม่ปรากฏในข้อมูลดิน ของกองส ารวจ

                   และจ าแนกดินดิน มาตราส่วน 1:50,000 พ.ศ. 2533 และ พ.ศ. 2534 ดังที่กล่าวมาแล้วในการวิเคราะห์ข้อมูล
                   พื้นที่ลุ่มน้ าสาขาแม่น้ าประแสร์ ทั้งนี้เนื่องด้วยมาตราส่วนการส ารวจดินที่ละเอียดมากขึ้น จึงท าให้พบ
                   ดินที่เพิ่มจากข้อมูลกลุ่มชุดดิน มาตราส่วน 1:50,000
                                 หน่วยแผนที่กลุ่มชุดดินที่เพิ่มจากข้อมูลดิน มาตราส่วน 1:50,000 ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่

                   13, 14, 17hi, 32, 45D และ 56  จากข้อมูลปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยเท่ากับ 1,451.3 มิลลิเมตรต่อปี ดินน่าจะ
                   อยู่ในเขตดินชื้น จากข้อมูลดังกล่าวมีกลุ่มชุดดินที่อยู่ในเขตดินแห้ง ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 49 และ 56 จาก
                   การศึกษามีความเห็ นว่าควรรวมกลุ่มชุดดินที่อยู่ในเขตแห้งเข้ากับดินเขตชื้น ในการปรับปรุงแผนที่กลุ่มชุด
                   ดิน มาตราส่วน 1:25,000 ครั้งต่อไป หรือพิจารณาเรื่องความชัดเจนของรอยต่อกลุ่มชุดดินในเขตดินชื้น

                   และเขตดินแห้ง ในที่นี้ยังคงกลุ่มชุดดิน 49 และ 56 ไว้เนื่องจากเป็นการใช้ข้อมูลทุติยภูมิ และได้เพิ่มข้อมูล
                   เขตความชื้นการเกิดดินในกลุ่มดินพื้นที่ดอน
                                 ทรัพยากรดินในพื้นที่ลุ่มน้ าคลองหวาย-คลองโพล้ สามารถแบ่งออกเป็น 25 หน่วยแผนที่

                   ประกอบด้วย หน่วยจ าแนกดิน 15 กลุ่มชุดดิน จ านวน 23 หน่วยแผนที่ พื้นที่เบ็ดเตล็ด 2 หน่วยแผนที่
                   รายละเอียดในแต่ละชุดดิน มีดังนี้ (ตารางที่ 9 และภาพที่ 14)
                                   1) กลุ่มชุดดินที่ 6
                                   เป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวละเอียด ดินลึกมาก เกิดจากการทับถม
                   ของตะกอนล าน้ าในพื้นที่ตะพักล าน้ าระดับต่ า สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ มีความลาดชัน 0-2

                    เปอร์เซ็นต์ การระบายน้ าของดินค่อนข้างเลว มีน้ าท่วมขังในฤดูฝน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ า
                                   ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง
                   สีน้ าตาลปนเทาหรือสีเทา มีจุดประสีน้ าตาลหรือสีเหลือง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดปานกลาง

                   ค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.0-6.0  ส่วนดินล่าง มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนทรายแป้ง
                   สีเทา มีจุดประสีเหลือง  สีแดงของศิลาแลงอ่อนปริมาณมากกว่าร้อยละ 5 โดยปริมาตร ภายในความลึก
                   150 เซนติเมตรจากผิวดิน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5-5.5
                   บางพื้นที่อาจพบลูกรังของเหล็กและแมงกานีสในชั้นดินล่างช่วงความลึก 100-150 เซนติเมตรจากผิวดิน

                                   ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดิน: ความอุดมสมบูรณ์ของดินตามธรรมชาติต่ า บางพื้นที่
                   อาจขาดแคลนน้ าในระยะที่ฝนทิ้งช่วงนาน
                                    กลุ่มชุดดินที่ 6 ที่พบมีความลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์ มีเนื้อที่ 6,678 ไร่ หรือร้อยละ
                   4.08 ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน
   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105