Page 99 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองหวาย-คลองโพล้ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำประแสร์(รหัส 1805) ลุ่มน้ำหลักชายฝั่งทะเลตะวันออก(รหัส 18) พื้นที่ดำเนินการโครงการ บ้านคลองป่าไม้ หมู่ 6 บ้านเขาผักกูด หมู่ 7 ตำบลกระแสบน อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
P. 99

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน

                                                                                                      74




                                   3) ยุคควอเทอร์นารี (Quaternary period) สัญลักษณ์แผนทื่ Qt พบในพื้นที่ส่วนใหญ่

                   เป็นบริเวณพื้นที่ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบตอนเหนือถึงตอนใต้ฝั่งตะวันอกของพื้นที่ลุ่มน้ าเขตพัฒนา
                   ที่ดิน พบเป็นตะกอนตะพัก ประกอบด้วยศิลาแลง กรวด ทราย ทรายแป้ง และอนุภาคดินเหนียว และ
                   สัญลักษณ์แผนที่ Qa ปรากฏตัวให้เห็นส่วนใหญ่บริเวณตอนเหนือฝั่งตะวันตกถึงตอนใต้ของพื้นที่ลุ่มน้ าเขต
                   พัฒนาที่ดิน พบเป็นตะกอนน้ าพา ตะกอนที่ลุ่มน้ าขึ้นถึง และตะกอนทรายชายหาด


                                 7.2.7 ธรณีสัณฐานและวัตถุต้นก าเนิดดิน
                                 จากการศึกษาข้อมูลธรณีวิทยา (กรมทรัพยากรธรณี, 2527) และข้อมูลทรัพยากรดิน

                   (กองส ารวจและจ าแนกดิน, 2533) สามารถแบ่งลักษณะทางธรณีสัณฐานและวัตถุต้นก าเนิดดินในพื้นที่ลุ่ม
                   น้ าคลองหวาย-คลองโพล้ จังหวัดระยอง ได้ดังนี้
                                   1) ที่ราบน้ าทะเลขึ้นถึง (active tidal flats) พบบริเวณปลายของพื้นที่ลุ่มน้ าเขต
                   พัฒนาที่ดิน อยู่บริเวณชายฝั่งทะเลปากแม่น้ าประแสร์ พื้นที่ริมแม่น้ าที่น้ าทะเลท่วมถึงเป็นประจ า วัตถุต้น

                   ก าเนิดเกิดจากตะกอนทะเล (marine deposits) พัดพามาทับถม มีความสามารถในการรับน้ าหนักต่ า จะมี
                   ตะกอนใหม่ๆ มาทับถมทุกปี มีลักษณะทั่วไปเป็นหาดเลน ป่าชายเลน หรือมีการใช้พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ า
                   ชายฝั่งทะเล
                                    2) ที่ลุ่มหลังสันทราย (coastal swamp) พบบริเวณตอนปลายของพื้นที่ลุ่มน้ าเขต

                   พัฒนาที่ดิน ใกล้ปากแม่ริมฝั่งแม่น้ าประแสร์ วัตถุต้นก าเนิดเกิดจากตะกอนน้ าผสมตะกอนทะเล
                   (alluvium and marine deposits)
                                   3) ที่ราบน้ าทะเลเคยขึ้นถึง (former tidal flats) พบบริเวณทิศใต้ของพื้นที่ลุ่มน้ าเขต

                   พัฒนาที่ดิน ริมฝั่งของแม่น้ าสาขา วัตถุต้นก าเนิดเกิดจากตะกอนน้ าผสมตะกอนทะเล (alluvium and
                   marine deposits) ลักษณะสัณฐานนี้อยู่ถัดจากที่ราบน้ าทะเลท่วมถึงเข้ามา พื้นที่ราบเรียบเป็นสัณฐานที่
                   น้ าทะเลเคยท่วมถึงมาก่อน ดังนั้นตะกอนชั้นล่างจะเป็นตะกอนจากอิทธิพลของน้ าทะเล ส่วนตะกอนชั้น
                   บนเป็นการตกตะกอนในสภาพน้ ากร่อยที่น้ าจากแม่น้ ามาปะทะกับน้ าทะเล

                                   4) สันดินริมน้ า (levee) พบบริเวณพื้นที่ทางใต้ของพื้นที่ลุ่มน้ าเขตพัฒนาที่ดิน วางตัว
                   แนวยาวขนาบไปกับแม่น้ าประแสร์ และคลองโพล้ วัตถุต้นก าเนิดเกิดจากตะกอนน้ า (alluvium deposits)
                   ส่วนใหญ่เกิดในช่วงฤดูน้ าหลากที่มีปริมาณน้ ามาก เมื่อปริมาณน้ ามากเกินกว่าจะไหลไปตามล ารางได้ ก็จะ
                   ไหลล้นฝั่งออกมาท่วมพื้นที่ด้านข้างล าน้ า ตะกอนขนาดละเอียดจะถูกพาออกไปตกตะกอนนอกตัวล าน้ า

                                    5) ตะพักล าน้ า (terrace) พบบริเวณตอนกลางถึงตอนใต้และแนวขอบฝั่งตะวันตก
                   ข้างแม่น้ าประแสร์ของพื้นที่ลุ่มน้ าเขตพัฒนาที่ดิน เป็นพื้นที่สูงถัดจากพื้นที่ราบน้ าท่วมถึงขึ้นไป เกิดจาก
                   ตะกอนที่ถูกน้ าพัดพา (alluvium) มาทับถมในอดีต และมีการเปลี่ยนแปลงระดับของพื้นที่โดยกรรมวิธี
                   ของแม่น้ าหรือทางน้ าและขบวนการกัดกร่อนที่ท าให้เกิดพื้นที่ระดับแตกต่างกัน น้ าจากแม่น้ าอาจท่วมถึง

                   บริเวณตะพักล าน้ าขั้นต่ าเป็นระยะเวลาสั้นๆ
                                    6) พื้นผิวที่เหลือจากการกร่อน และเกลี่ยผิวแผ่นดิน (erosion and dissected
                   surface) เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นที่ลุ่มน้ าเขตพัฒนาที่ดิน บริเวณนี้เกิดจากขบวนการปรับระดับของ
                   พื้นที่ หินส่วนที่ผุผังสลายตัวได้ถูกกัดกร่อนออกไปเหลือพื้นที่เป็นดิน ลักษณะเป็นลูกคลื่นกระจายทั่วไปใน

                   พื้นที่ บางพื้นที่พบเป็นหินพื้นอยู่ในระดับตื้น ดินที่พบในบริเวณนี้เป็นดินทั้งตื้นจนถึงลึกมาก ลักษณะของ
                   ดินขึ้นอยู่กับชนิดของหินที่เป็นวัตถุต้นก าเนิด ได้แก่ หินทราย หินดินดาน หินทรายแป้ง หินเชิร์ต เป็นต้น
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104