Page 43 - การจัดการทรัพยากรดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
P. 43

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


           30     ก า ร จั ด ก า ร ท รั พ ย า ก ร ดิน




                        7.4.1  แปลงฟื้นฟูป่า

                             การด�าเนินการด้านการพัฒนาฟื้นฟูป่าไม้ตามแนวพระราชด�าริในพื้นที่โครงการ พบว่า

                             1)  การปลูกป่าทดแทน อัตราการรอดตายของป่าปลูกแสดงให้เห็นถึงการทดแทนของสังคมพืช
            (Community succession) ซึ่งพันธ์ุไม้ที่น�ามาปลูกเป็นไม้เบิกน�า (Pioneer species) ได้แก่ พญาสัตบรรณ

            มะฮอกกานี ยูคาลิปตัส นนทรี สัก กระถินณรงค์ กระถินยักษ์ มะค่าโมง ประดู่ มะกอก เลื่อม มะขามป้อม ขี้เหล็ก
            สะเดา และหว้า เพื่อเป็นการลดระยะเวลาการฟื้นตัวของป่าไม้ท�าให้มีการทดแทนของสังคมพืช และเมื่อไม้เบิก

            น�าในช่วงแรกตายไปเหลือไว้เฉพาะไม้เสถียร เรียกว่าการทดแทนแบบทุติยภูมิ (Secondry succession)
            ป่าดั้งเดิมจะกลับมา

                             2)  อัตราการปกคลุมเรือนยอดของป่าปลูก แสดงให้เห็นถึงบทบาทและการเปลี่ยนแปลงของ

            พันธ์ุไม้ที่น�ามาปลูกฟื้นฟูป่าหรือพันธ์ุไม้เบิกน�า (Pioneer species) เมื่อเกิดขบวนการทดแทนสังคมพืช พันธ์ุพืช
            เหล่านี้จะมีการสร้างปัจจัยแวดล้อมใหม่ที่เหมาะสมกับชนิดพันธ์ุพืชในกลุ่มไม้ทนร่ม (Shade tolerance) ซึ่งปัจจัย

            แวดล้อมใหม่ไม่เหมาะกับพืชกลุ่มแรกท�าให้พืชกลุ่มแรกตายลง สร้างสังคมพืชที่มีการทดแทนสูงไปอีกระดับจนถึง
            จุดถาวร (Climax stage) ซึ่งเป็นป่าดั้งเดิม

                             3) ความหลากหลายของชนิดพันธ์ุไม้ แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาของพื้นที่ป่าปลูก มีไม้หนุ่ม

            (sampling) เกิดขึ้น 50 ชนิด และลูกไม้ (Seedling) พบ 35 ชนิด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นไม้ประจ�าถิ่นและพันธ์ุไม้ป่า
            ดั้งเดิม

                             4)  ผลผลิตรองจากป่า หรือผลผลิตพืชอาหารป่าจากกระบวนการทดแทนตามธรรมชาติท�าให้

            มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตเป็นตัวชี้วัดถึงความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศป่า

                       7.4.2 แปลงป่าธรรมชาติ

                             แนวพระราชด�ารัสที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาป่าไม้

                              “ปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูก” คือการพัฒนาฟื้นฟูสภาพป่าโดยวัฏจักรธรรมชาติ เป็นการไม่เข้าไป

            รบกวนและท�าลายป่าโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ปล่อยไปตามธรรมชาติ ในระยะเวลาหนึ่งป่าไม้ก็จะสมบูรณ์ขึ้นเอง

                             “ฝายชะลอความชุ่มชื้นและป่าเปียก” (Check dam) เป็นการสร้างฝายเล็กๆ ให้สอดคล้อง
            กับสภาพธรรมชาติ โดยใช้วัสดุในท้องถิ่น มี 2 ประเภท

                              -  ฝายต้นน�้าล�าธารส�าหรับกักกระแสน�้าให้ไหลช้าลงและน�้าสามารถซึมลงใต้ผิวดิน

                              -  ฝายดักตะกอนดินและทรายไม่ให้ลงสู่แหล่งน�้าเบื้องล่าง

                              การศึกษาดัชนีชี้วัดหลังการพัฒนาป่าไม้

                              1)  ความถี่ของการพบพืช
                              2)  ความหนาแน่นของพืช (Stand density)

                              3)  พื้นที่หน้าตัดล�าต้น (Basal area)

                              4)  ความเด่นของพันธ์ุไม้ (Dominance)
   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48