Page 44 - การจัดการทรัพยากรดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
P. 44

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน



                                                                     ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ  31



                                 5)  ชนิดพันธ์ุและจ�านวนชนิดพันธ์ุ

                                 6)  การจัดชั้นของเรือนยอดพันธ์ุไม้ (Stratification)
                                 7)  ปริมาณการร่วงหล่นและย่อยสลายของเศษไม้เศษใบไม้

                                 8)  ผลผลิตรองจากป่าไม้

                                 9)  ความหลากหลายของชนิดพันธ์ุสัตว์ป่า

                               10)  ไฟป่า
                               11)  สภาพภูมิอากาศข้อมูลอากาศใช้เป็นดัชนีชี้วัดการพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าไม้

                               12)  ปริมาณน�้าไหล ล�าธาร หรือน�้าท่า

                               13)  บทบาทของฝายต้นน�้า




                  8. สรุปและข้อเสนอแนะ

                        ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาแห่งที่ 4 ที่พระบาทสมเด็จ

                  พระเจ้าอยู่หัว มีพระราชด�าริให้จัดตั้งขึ้นเป็นตัวอย่างการพัฒนาตามแนวเกษตรยั่งยืน  (Sustainable
                  Agriculture) ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งในการด�าเนินงานของศูนย์ฯ จ�าต้องมีฐานข้อมูลด้านทรัพยากรดิน

                  เพื่อเป็นการติดตามการเปลี่ยนแปลงตลอดจนเพื่อเป็นการวางแผนการด�าเนินงานของศูนย์ฯ ในอนาคตต่อไป
                  ดังนั้นคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ ได้ขอความอนุเคราะห์ให้

                  กรมพัฒนาที่ดิน ด�าเนินการส�ารวจและรวบรวมข้อมูลทรัพยากรดิน และวิเคราะห์สภาพปัญหาในพื้นที่จริง
                  เพื่อรวบรวมเป็นคู่มือ เพื่อให้ค�าแนะน�าแก่เกษตรกรทราบถึงวิธีการและแนวทางที่ถูกต้องในการจัดการดิน

                  ในการจัดท�าต�าราการจัดการดินที่เป็นปัญหาหลักภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ ทั้งนี้
                  เพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูลการจัดการดินของศูนย์ศึกษาฯ ให้สามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรดินได้อย่างเหมาะสม
                  และเพื่อให้เป็นแบบอย่างในการน�าไปใช้ในการจัดการดินในพื้นที่ที่มีปัญหาคล้ายคลึงกันในพื้นอื่นๆ ต่อไป


                        สภาพภูมิอากาศบริเวณโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่
                  เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ ฤดูร้อน
                  เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน จัดเป็นเขตภูมิอากาศแบบร้อนและชุ่มชื้น (Aw) มีปริมาณน�้าฝน

                  เฉลี่ย 1,611.20 มิลลิเมตร จ�านวนวันที่ฝนตกเฉลี่ย 96 วันต่อปี อุณหภูมิเฉลี่ย 26.00 องศาเซลเซียส
                  และความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยร้อยละ 75.29

                        ปัญหาดินที่ส�าคัญที่ส�ารวจพบ ได้แก่  ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต�่า มีเนื้อที่ 1,965 ไร่  ซึ่งแบ่งได้เป็น

                  1) ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต�่าในที่ลุ่ม มีเนื้อที่ 1,909 ไร่  2) ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต�่าในที่ดอน
                  มีเนื้อที่ 3,633 ไร่  3) ปัญหาดินที่เสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายสูง มีเนื้อที่ 4,503 ไร่  4) ปัญหาดินตื้นหรือดินปน

                  กรวดและหิน มีเนื้อที่ 1,219 ไร่  และปัญหาดินในพื้นที่ลาดชันสูง มีเนื้อที่ 5,981 ไร่
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48