Page 20 - รายงานการสำรวจดินและสภาพการใช้ที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
P. 20

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


            10    ร า ย ง า น การส�ารวจดิน




                   6.4   ธรณีวิทยำ

                       ข้อมูลจากแผนที่ธรณีวิทยาของบริเวณหุบกระพง-หัวหิน มาตราส่วน 1:250,000 ของกรม
            ทรัพยากรธรณี (กรมทรัพยากรธรณี, 2550) (ภาพที่ 4) พบว่า ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ประกอบด้วย

            ลักษณะทางธรณีวิทยา ได้แก่

                       6.4.1  ตะกอนยุคควอเทอร์นารี (ตะกอนเศษหินเชิงเขา และตะกอนผุพังอยู่กับที่ : Qc)

                            ประกอบด้วยตะกอนเศษหินเชิงเขาและตะกอนผุพังอยู่กับที่ของ กรวด ทราย และเศษหิน

            อยู่บนที่ลาดเชิงเขา และบริเวณที่เป็นลูกคลื่นลอนลาดและลูกคลื่นลอนชัน ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของพื้นที่ศูนย์ฯ
            ตะกอนดังกล่าวมีองค์ประกอบของแร่ควอตรซ์และเฟลด์สปาร์เด่นชัดแสดงถึงการผุพังสลายตัวมาจากหินแกรนิต






















                       6.4.2 หินแกรนิต มีอายุตั้งแต่ยุคครีเทเชียส อยู่บริเวณเขาโดด (monadnock) บริเวณเชิงเขาโดด

            เช่น เขาเสวยกะปิ เขากะปุก เขาน้อย และเขาทอง หินแกรนิตดังกล่าวประกอบไปด้วย หินไบโอไทต์ฮอร์น

            เบลนด์แกรนิต มัสโคไวต์แกรนิต ผลึกขนาดเท่าๆ กัน และผลึกเนื้อดอก หินแกรโนไดโอไรต์ หินแกรนิตไนส์
            เนื้อแปรดอกที่มีขนาดเม็ดแร่ใหญ่และมีไบโอไทต์แทรกอยู่ (the coarse grained biotite porphyroblastic
            gneissic granite) เป็นหินที่พบได้มากที่สุดในพื้นที่ศึกษา เนื้อหินทั่วไปเป็นหินเนื้อหยาบดอกที่มีแร่เฟลด์สปาร์

            เป็นแร่ประกอบมีการเรียงตัวเป็นแผ่นชัดเจน (strong foliation) โดยทั่วไปเรียกหินแกรนิตไนส์ (granite gneiss)

            หรือออร์โทไนส์ (orthogneiss) และมักมีแร่ไบโอไทต์วางตัวเป็นชั้นแทรกอยู่
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25