Page 16 - รายงานการสำรวจดินและสภาพการใช้ที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
P. 16

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน


            6     ร า ย ง า น การส�ารวจดิน




                   6.2   สภำพภูมิอำกำศ

                      ข้อมูลภูมิอากาศในพื้นที่ศึกษาใช้ข้อมูลของสถานีตรวจวัดอากาศที่อ�าเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
            เนื่องจากเป็นสถานีที่อยู่ใกล้กับพื้นที่ศึกษามากที่สุด โดยใช้ข้อมูลสถิติในคาบ 30 ปี (พ.ศ.2526-2555) ดังแสดงไว้

            ในตารางที่ 1 (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2559) จากข้อมูลดังกล่าวสามารถน�ามาอธิบายสภาพภูมิอากาศได้ดังนี้

                       อุณหภูมิ

                       อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีของพื้นที่ เท่ากับ 28.0 องศาเซลเซียส โดยมีค่าอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในเดือน

            เมษายน เท่ากับ 29.6 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิเฉลี่ยต�่าสุดในเดือนธันวาคม เท่ากับ 22.7 องศาเซลเซียส
            ค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในแต่ละเดือนของรอบปี มีค่าไม่เกิน 6.9 องศาเซลเซียส


                       ปริมำณกำรกระจำยตัวของฝน

                       มีปริมาณฝนเฉลี่ยตลอดปี เท่ากับ 942.8 มิลลิเมตร ปริมาณน�้าฝนเฉลี่ยสูงสุดในเดือนตุลาคม เท่ากับ
            244.4 มิลลิเมตร และปริมาณน�้าฝนเฉลี่ยน้อยที่สุดในเดือนธันวาคม เท่ากับ 8.7 มิลลิเมตร ส�าหรับการกระจาย

            ของฝน พบว่า จ�านวนวันที่ฝนตกเฉลี่ยในรอบปี เท่ากับ 104.3 วัน โดยเดือนตุลาคมมีจ�านวนวันฝนตกเฉลี่ยสูงที่สุด
            16.1 วัน และเดือนกุมภาพันธ์มีจ�านวนฝนตกเฉลี่ยต�่าที่สุด คือ 1.1 วัน

                       ควำมชื้นสัมพัทธ์


                       ค่าปริมาณความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปี เท่ากับร้อยละ 73.3 โดยเดือนตุลาคมเป็นเดือนที่มีค่า
            ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยสูงที่สุดคือร้อยละ 80 เดือนธันวาคมเป็นเดือนที่มีค่าความชื้นสัมพัทธ์ต�่าที่สุดร้อยละ 67

            จากฐานข้อมูลดังกล่าวสามารถจ�าแนกสภาพภูมิอากาศตามระบบการจ�าแนกของ Köppen ปี 1931 ได้ว่า
            ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ มีสภาพภูมิอากาศแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู (tropical savanna climate

            “Aw”) โดยมีลมมรสุม 2 ช่วงดังนี้
                       1)  ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะพัดพาฝนมาตก ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมไปจนถึงเดือนตุลาคม ซึ่งถือว่า

            เป็นฤดูฝนของปี
                       2)  ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะพัดพาเอาความหนาวและความแห้งแล้งจากประเทศจีนเข้ามา

            สู่ภูมิภาค ตั้งแต่เดือนธันวาคมจนถึงกุมภาพันธ์

                       ปริมำณกำรคำยระเหยของน�้ำ (ETo)

                       จากข้อมูลสภาพภูมิอากาศเบื้องต้นน�ามาค�านวณด้วยโปรแกรม Cropwat พบว่าค่าปริมาณ

            การคายระเหยน�้าเฉลี่ยตลอดปีเท่ากับ 1,287.0 มิลลิเมตร โดยเดือนเมษายนมีค่าปริมาณการคายระเหยน�้าเฉลี่ยสูง
            ที่สุด คือ 130.2 มิลลิเมตร ส่วนเดือนธันวาคมเป็นเดือนที่มีค่าปริมาณการคายระเหยน�้าเฉลี่ยต�่าที่สุด เท่ากับ
            88.4 มิลลิเมตร (ตารางที่ 1)
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21