Page 22 - รายงานการสำรวจดินและสภาพการใช้ที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
P. 22
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
12 ร า ย ง า น การส�ารวจดิน
6.5 ธรณีสัณฐำนและวัตถุต้นก�ำเนิดดิน
พื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ ส่วนใหญ่จะเป็นลูกคลื่นลอนลาดเป็นพื้นที่เหลือค้างจากการ
กัดกร่อน (erosional surface) โดยมีหินแกรนิต (Granite) และแกรนิตหินไนส์ (Granite gneiss) เป็นหินพื้นฐาน
และปรากฎเป็นเขาโดด (monadnock) สูงชัน ถัดจากเขาโดดลงมาเป็นพื้นที่เชิงเขา (foot slope) ที่เกิดจากการ
ผุพังสลายตัวอยู่กับที่และเกิดจากการเคลื่อนย้ายมาในระยะทางใกล้ๆ ของหินแกรนิต ถัดจากพื้นที่เชิงเขาเป็น
พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาดซึ่งเป็นพื้นที่เหลือค้างจากการกัดกร่อนจากหินแกรนิตสามารถสังเกตได้จากการพบทราย
เนื้อหยาบปะปนด้วยแร่ควอรตซ์และเฟลด์สปาร์ ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ทางธรณีวิทยา (ภาพที่ 5) เรียกว่าเป็นพื้นที่ตะกอน
เศษหินเชิงเขา ตะกอนผุพังอยู่กับที่ (Qc : Quaternaly colluvium)
ภำพที่ 5 ภาพตัดขวางสภาพทางธรณีสัณฐานของพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายฯ
6.6 แหล่งน�้ำ
พื้นที่บริเวณโครงการศูนย์ฯ มีแหล่งน�้าหลัก 4 ประเภท (ภาพที่ 6 และ 7) ได้แก่
6.6.1 แหล่งน�้าธรรมชาติ
แหล่งน�้าตามธรรมชาติในพื้นที่ศูนย์ฯ ส่วนใหญ่จะเป็นทางน�้าที่มีน�้าไหลเฉพาะฤดูฝน เมื่อฝน
ทิ้งช่วงแหล่งน�้าเหล่านี้จะแห้งไม่สามารถใช้เป็นแหล่งน�้าในการเกษตรกรรมหรืออุปโภคบริโภคได้ คือล�าห้วย
ตะแปดและล�าห้วยเขากะปุกไหลมารวมกันที่ล�าห้วยใหญ่ อยู่ทางทิศเหนือของพื้นที่ศูนย์ฯ ล�าห้วยทรายอยู่ทาง
ด้านทิศใต้ของพื้นที่ศูนย์ฯ โดยทางน�้าเหล่านี้จะไหลจากทิศตะวันตกไปสู่ทิศตะวันออก