Page 11 - รายงานการสำรวจดินและสภาพการใช้ที่ดิน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
P. 11
ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
รายงานการส�ารวจดินและสภาพการใช้ที่ดิน
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย
อันเนื่องมาจากพระราชด�าริ
1. บทน�ำ
ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชด�าริ ตั้งอยู่ในเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
ต�าบลสามพระยา อ�าเภอชะอ�า จังหวัดเพชรบุรี อันเป็นพื้นที่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ได้มีประกาศพระบรมราชโองการให้เป็นที่หลวงเมื่อปี พ.ศ. 2466 และ ปี พ.ศ. 2467 เดิมพื้นที่แห่งนี้มี
สภาพเป็นป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์มีสัตว์ป่าประเภทเนื้อทรายอยู่เป็นจ�านวนมาก จึงได้ชื่อว่า “ห้วยทราย” ต่อมา
ราษฎรได้เข้ามาอาศัยท�ากินบุกรุกแผ้วถางป่า และได้ประกอบอาชีพตามยถากรรม ภายในเวลาไม่ถึง 40 ปี
ป่าไม้ได้ถูกท�าลายโดยสิ้นเชิง ดินขาดการบ�ารุงรักษาจนเกิดการพังทลายของผิวดินค่อนข้างสูง ประกอบกับราษฎร
ส่วนใหญ่ปลูกสับปะรด ท�าให้คุณภาพของดินตกต�่าลงไปอีก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน
ค�าอธิบายต้นเหตุของปัญหาว่า
“…ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อ�าเภอชะอ�า จังหวัดเพชรบุรี : เดิมเป็นป่าโปร่ง
คนไปตัดไม้ส�าหรับเป็นฟืนและส�าหรับเผาถ่าน ต่อจากนั้น มีการปลูกพืชไร่และสับปะรด
จนดินจืดกลายเป็นทราย ถูกลมและน�้าชะล้างไปหมด จนเหลือแต่ดินดาน
ซึ่งเป็นดินที่แข็งตัวเมื่อถูกอากาศ ดินนี้ก็ไม่มีแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์…”
ดังนั้น เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2526 ได้พระราชทานพระราชด�าริกับหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์
องคมนตรี และนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการส�านักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่อง
มาจากพระราชด�าริให้พัฒนาเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาด้านป่าไม้เอนกประสงค์ จัดให้ราษฎรที่ท�ากินอยู่เดิมมีส่วน
ร่วมในการดูแลรักษาป่าไม้ ได้ประโยชน์และไม่ท�าลายป่าไม้อีกต่อไป มุ่งที่จะศึกษารูปแบบการพัฒนาเกษตรควบคู่
ไปกับการปลูกป่า จัดหาแหล่งน�้า ศึกษาวิธีการและระบบป้องกันไฟไหม้ป่าใน “ระบบป่าเปียก” ให้ราษฎรสร้าง
รายได้จากผลิตผลป่าไม้และปลูกพืชชนิดต่างๆ ควบคู่ไปด้วย และให้ราษฎรที่เข้ามาท�ากินโดยมิชอบได้เข้าร่วม
กิจกรรม เพื่อที่จะได้รับพระราชทานที่ดินท�ากินต่อไป
เนื่องจาก ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชด�าริได้ผ่านการพัฒนามาแล้ว ถึง 33 ปี
สถาพดินและการใช้ประโยชน์ที่ดินได้เปลี่ยนแปลงไป ในทางที่ดีขึ้นตามล�าดับ และเนื่องจากทรัพยากรดินเป็น
ทรัพยากรที่ส�าคัญและสามารถใช้เป็นฐานข้อมูลหลักในการจัดการพื้นที่ ดังนั้นทางส�านักงานคณะกรรมการพิเศษ
เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�าริจึงได้มอบหมายให้ทางกรมพัฒนาที่ดิน ท�าการส�ารวจเพื่อ
ให้ได้มาซึ่งข้อมูลทรัพยากรดินและสภาพการใช้ที่ดินที่เป็นปัจจุบัน เพื่อน�าข้อมูลทรัพยากรดินและสภาพการใช้
ที่ดินไปใช้ประโยชน์ให้สอดคล้องกับแนวทางพระราชด�าริสืบต่อไป