Page 155 - การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพสำหรับการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองพระสทึง
P. 155

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           136






                                                         บทที่ 5

                                                   สรุปผลการศึกษา



                  5.1 สรุปผลการศึกษา

                        ลุ่มน้้าสาขาคลองพระสทึง เป็นหนึ่งในลุ่มน้้าสาขาของลุ่มน้้าหลักแม่น้้าปราจีนบุรี เป็นลุ่ม

                  น้้าสาขาที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับสองของลุ่มน้้าหลักแม่น้้าปราจีนบุรี มีเนื้อที่รวมทั้งหมด 1,649,993 ไร่
                        สถานภาพทรัพยากรที่ดินในลุ่มน้้าสาขาคลองพระสทึง ส่วนใหญ่เป็นเนื้อดินตื้นในที่ดอน

                  โดยมีเนื้อที่ 796,575 ไร่หรือร้อยละ 48.29 ของเนื้อที่ลุ่มน้้าสาขา กระจายอยู่ทั่วทั้งพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                  ส้าหรับดินที่ไม่มีปัญหาพิเศษมีเนื้อที่ 651,164 ไร่หรือร้อยละ 39.46 พบบริเวณกว้างในอ้าเภอวังน้้าเย็น

                  และคลองหาด จังหวัดสระแก้ว และอ้าเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ดินในพื้นที่ลาดชั้นเชิงซ้อนมีเนื้อที่
                  142,798 ไร่หรือร้อยละ 8.65 พบว่าบริเวณตอนล่างของลุ่มน้้าสาขาในอ้าเภอเขาคิชฌกูฏ และสอยดาว

                  จังหวัดจันทบุรี ส่วนลักษณะดินอื่นๆ ที่พบได้แก่ ดินตื้นในที่ลุ่ม ดินทรายในที่ดอน และดินทรายในที่

                  ลุ่ม ตามล้าดับ
                        หน่วยที่ดินที่จัดท้าในลุ่มน้้าสาขาคลองพระสทึง โดยใช้ข้อมูลกลุ่มชุดดินและการจัดการ

                  ที่ดินเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้้าสาขาสามารถจัดท้าได้ 37 หน่วยที่ดิน คือ หน่วยที่ดินที่ 4 5 6 7 7hi 10 17hi

                  18 22hi 24 25 25hi 28 31 33 35 36 38B 40 41 44B 46 46C 47B 47C 47D 47E 48B 48C 51C 51D
                  52B  52C  54  55  55C  และ 62 เพื่อน้าไปใช้ในการประเมินคุณภาพที่ดินในแต่ละประเภทการใช้

                  ประโยชน์ที่ดิน

                        สมดุลของน้้าเพื่อการเกษตร เป็นการวิเคราะห์ปริมาณน้้าในช่วงฤดูกาลเพาะปลูกพืช
                  ตลอดจนช่วงเวลาที่เสี่ยงต่อการขาดน้้า เพื่อน้าไปใช้ในการวางแผนการผลิตพืชภายในพื้นที่ลุ่มน้้า

                  สาขาคลองพระสทึง พบว่าช่วงระยะเวลาที่มีความชื้นพอเหมาะต่อการเพาะปลูกพืชเป็นช่วงฤดูฝน

                  ปกติ อยู่ในช่วงกลางเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน ช่วงระยะเวลาที่มีน้้ามากพอเป็นช่วงที่ฝนตก

                  ชุกจนอาจมากเกินความต้องการของพืช อยู่ในช่วงกลางเดือนเมษายนถึงกลางเดือนตุลาคม และช่วง
                  ระยะเวลาที่ไม่สามารถปลูกพืชโดยอาศัยน้้าฝนได้หรือช่วงขาดน้้า แต่ถ้าต้องการปลูกพืชช่วงนี้ต้อง

                  จัดหาแหล่งน้้าส้ารองอยู่ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ และจากการวิเคราะห์และ

                  เปรียบเทียบข้อมูลสมดุลของน้้าเพื่อการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้้าสาขาคลองพระสทึง 3 ช่วงเวลา คือ 30 ปี
                  หลังสุด 15 ปีหลังสุด และ10 ปีหลังสุด พบว่าช่วงระยะเวลาที่ส้าคัญต่างๆ ให้ผลไม่แตกต่างกัน แต่

                  ปริมาณน้้าฝนช่วง 15 ปีหลังสุดและ10 ปีหลังสุดมีแนวโน้มมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันศักยภาพการ

                  คายระเหยน้้าก็มีแนวโน้มมากขึ้นด้วย ส่วนปริมาณฝนใช้การได้มีแนวโน้มลดลง ด้านอุณหภูมิและ

                  ความชื้นสัมพัทธ์ไม่แตกต่างกันมากนัก
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160