Page 81 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 81

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           2-57






                                         ไก่พื้นเมือง มีการเลี้ยงกระจายไปในทุกอําเภอ ในปี  2553 มีการเลี้ยงไก่

                  พื้นเมือง จํานวน 306,074 ตัว โดยอําเภอที่มีการเลี้ยงมากที่สุด ได้แก่ อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว จํานวน

                  133,401 ตัว หรือร้อยละ 43.58 ของจํานวนไก่พื้นเมืองที่ถูกเลี้ยงในลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด (1702) ในปี 2554

                  มีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง จํานวน 348,091 ตัว ซึ่งมีปริมาณการเลี้ยงเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ13.73 อําเภอที่มี
                  การเลี้ยงมากที่สุด ได้แก่ อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว จํานวน 157,611 ตัว หรือร้อยละ 45.28

                  ของจํานวนไก่พื้นเมืองที่ถูกเลี้ยงในลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด (1702) ในปี 2555 มีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง

                  346,721 ตัว ซึ่งมีปริมาณลดลงจากปี 2554 ร้อยละ 0.40 โดยอําเภอที่มีการเลี้ยงมากที่สุด ได้แก่ อําเภอ
                  อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จํานวน 151,032 ตัว หรือร้อยละ 43.56 ของจํานวนไก่พื้นเมืองที่ถูกเลี้ยง

                  ในลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด (1702) โดยเกษตรกรเลี้ยงไก่พื้นเมืองเฉลี่ยครัวเรือนละ 32 ตัว ซึ่งเป็นการเลี้ยง

                  เพื่อการบริโภคหรือเลี้ยงเพื่อจําหน่ายเป็นรายได้เสริม

                                         เป็ ดพื้นเมือง มีการเลี้ยงกระจายไปในทุกอําเภอ ในปี 2553 มีการเลี้ยงเป็ด
                  พื้นเมือง จํานวน 30,870 ตัว โดยอําเภอที่มีการเลี้ยงมากที่สุด ได้แก่ อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จํานวน

                  14,750 ตัว หรือร้อยละ 47.78 ของจํานวนเป็ดพื้นเมืองที่ถูกเลี้ยงในลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด (1702) ในปี 2554

                  มีการเลี้ยงเป็ดพื้นเมือง จํานวน 47,433 ตัว ซึ่งมีปริมาณการเลี้ยงเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 53.65 อําเภอที่มี
                  การเลี้ยงมากที่สุด ได้แก่ อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จํานวน 35,428 ตัว หรือร้อยละ 74.70 ของ

                  จํานวนเป็ดพื้นเมืองที่ถูกเลี้ยงในลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด (1702) ในปี 2555 มีการเลี้ยงเป็ดพื้นเมือง

                  34,655 ตัว ซึ่งมีปริมาณลดลงจากปี 2554 ร้อยละ 26.94 โดยอําเภอที่มีการเลี้ยงมากที่สุด ได้แก่ อําเภอ
                  อรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จํานวน 22,317 ตัวหรือร้อยละ 64.40 ของจํานวนเป็ดพื้นเมืองที่ถูกเลี้ยง

                  ในลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด (1702) โดยเกษตรกรเลี้ยงเป็ดพื้นเมืองเฉลี่ยครัวเรือนละ 7 ตัว ซึ่งเป็นการเลี้ยง

                  เพื่อการบริโภคหรือเลี้ยงเพื่อจําหน่ายเป็นรายได้เสริม
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86