Page 80 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 80

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           2-56






                                         โคนม มีการเลี้ยงกระจายไปในทุกอําเภอ ในปี  2553 มีการเลี้ยงโคนม

                  จํานวน 777 ตัว อําเภอที่มีการเลี้ยงมากที่สุด ได้แก่ อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว จํานวน 391 ตัว

                  หรือร้อยละ 50.32 ของจํานวนโคนมที่ถูกเลี้ยงในลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด (1702) ในปี 2554 มีการเลี้ยง

                  โคนม จํานวน 862 ตัว ซึ่งมีปริมาณการเลี้ยงเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 10.94 อําเภอที่มีการเลี้ยงมากที่สุด
                  ได้แก่ อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว จํานวน 437 ตัว หรือร้อยละ 50.70 ของจํานวนโคนมที่ถูกเลี้ยง

                  ในลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด (1702) ในปี 2555 มีการเลี้ยงโคนม จํานวน 796 ตัว ซึ่งมีปริมาณการเลี้ยง

                  ลดลงจากปี 2554 ร้อยละ 7.66 อําเภอที่มีการเลี้ยงมากที่สุด ได้แก่ อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
                  จํานวน 398 ตัว หรือร้อยละ 50.00 ของจํานวนโคนมที่ถูกเลี้ยงในลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด (1702)

                  โดยเกษตรกรเลี้ยงโคนมเฉลี่ย ครัวเรือนละ 22 ตัว ซึ่งเป็นการเลี้ยงเพื่อการค้า

                                         กระบือ มีการเลี้ยงกระจายไปในทุกอําเภอ ในปี 2553 มีการเลี้ยงกระบือ

                  จํานวน 6,142 ตัว อําเภอที่มีการเลี้ยงมากที่สุด ได้แก่ อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว จํานวน 3,799 ตัว
                  หรือร้อยละ 61.85 ของจํานวนกระบือที่ถูกเลี้ยงในลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด (1702) ในปี 2554 มีการเลี้ยง

                  กระบือ จํานวน 6,687 ตัว ซึ่งปริมาณการเลี้ยงเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 8.87 อําเภอที่มีการเลี้ยงมากที่สุด

                  ได้แก่ อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว จํานวน 4,300 ตัว หรือร้อยละ 64.30 ของจํานวนกระบือที่ถูกเลี้ยง
                  ในลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด (1702) ในปี 2555 มีการเลี้ยงกระบือ จํานวน 5,780 ตัว ซึ่งปริมาณการ

                  เลี้ยงลดลงจากปี 2554 ร้อยละ 13.56 อําเภอที่มีการเลี้ยงมากที่สุด ได้แก่ อําเภอวัฒนานคร จังหวัด

                  สระแก้ว จํานวน 4,227 ตัว หรือร้อยละ 73.13 ของจํานวนกระบือที่ถูกเลี้ยงในลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรม
                  โหด (1702) โดยเกษตรกรเลี้ยงกระบือ เฉลี่ยครัวเรือนละ 12 ตัว ซึ่งเป็นการเลี้ยงเพื่อการบริโภคใช้

                  แรงงาน หรือเพื่อจําหน่ายเป็นรายได้เสริม

                                         สุกรพื้นเมือง มีการเลี้ยงกระจายไปทุกอําเภอ ในปี  2553 มีการเลี้ยงสุกร

                  พื้นเมือง จํานวน 4,579 ตัว อําเภอที่มีการเลี้ยงมากที่สุด ได้แก่ อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จํานวน
                  2,306 ตัว หรือร้อยละ 50.36 ของจํานวนสุกรพื้นเมืองที่ถูกเลี้ยงในลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด (1702)

                  ในปี 2554 มีการเลี้ยงสุกรพื้นเมือง จํานวน 7,922 ตัว ซึ่งปริมาณการเลี้ยงเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ

                  73.01 โดยอําเภอที่มีการเลี้ยงมากที่สุด ได้แก่ อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว จํานวน 4,752 ตัว หรือร้อยละ

                  59.98 ของจํานวนสุกรพื้นเมืองที่ถูกเลี้ยงในลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด (1702) ในปี 2555 มีการเลี้ยงสุกร
                  พื้นเมือง จํานวน 11,231 ตัว ซึ่งมีปริมาณการเลี้ยงเพิ่มขึ้นจากปี2554 ร้อยละ 41.77 อําเภอที่มีการเลี้ยง

                  มากที่สุด ได้แก่ อําเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว จํานวน 7,853 ตัว หรือร้อยละ 69.92 ของจํานวนสุกร

                  พื้นเมืองที่ถูกเลี้ยงในลุ่มนํ้าสาขาห้วยพรมโหด (1702) โดยเกษตรกรเลี้ยงสุกรพื้นเมืองเฉลี่ยครัวเรือนละ
                  13 ตัว
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85