Page 110 - การประเมินความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจในการผลิตพืชเพื่อวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำหลัก : โตนเลสาป ปีการผลิต 2555/56
P. 110

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           2-79






                                      (2)การปศุสัตว์

                                         การผลิตทางด้านปศุสัตว์ในพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนล่าง มีสัตว์

                  เศรษฐกิจที่เกษตรกรนิยมเลี้ยง ได้แก่ โค กระบือ สุกร ไก่ และเป็ด ซึ่งการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจดังกล่าวจะ

                  กระจายอยู่ทั่วไป ในอําเภอที่มีขอบเขตอยู่ในพื้นที่ดําเนินการศึกษา รายละเอียดของการเลี้ยงสัตว์
                  เศรษฐกิจ มีดังนี้ (ตารางที่ 2-34 และภาคผนวกที่ 3)

                                         โคเนื้อ มีการเลี้ยงกระจายไปในทุกอําเภอ ในปี 2553 มีการเลี้ยงโคเนื้อ

                  จํานวน 17,297 ตัว อําเภอที่มีการเลี้ยงมากที่สุด ได้แก่ อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จํานวน

                  12,395 ตัว หรือร้อยละ 71.66 ของจํานวนโคเนื้อที่ถูกเลี้ยงในลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนล่าง (1703)
                  ในปี 2554 มีการเลี้ยงโคเนื้อจํานวน 17,612 ตัว ซึ่งปริมาณการเลี้ยงเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 1.82 อําเภอ

                  ที่มีการเลี้ยงมากที่สุด ได้แก่ อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จํานวน 12,462 ตัว หรือร้อยละ 70.76

                  ของจํานวนโคเนื้อที่ถูกเลี้ยงในลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนล่าง (1703) ในปี 2555 มีการเลี้ยงโคเนื้อ
                  จํานวน 11,488 ตัว ซึ่งมีปริมาณการเลี้ยงลดลงจากปี 2554 ร้อยละ 34.77 อําเภอที่มีการเลี้ยงมากที่สุด ได้แก่

                  อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จํานวน 6,810 ตัว หรือร้อยละ 59.28 ของจํานวนโคเนื้อที่ถูกเลี้ยง

                  ในลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนล่าง (1703)
                                         โคนม ในปี 2553 มีการเลี้ยงโคนม จํานวน 12,739 ตัว อําเภอที่มีการเลี้ยง

                  มากที่สุด ได้แก่ อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จํานวน 12,395 ตัว หรือร้อยละ 97.30 ของ

                  จํานวนโคนมที่ถูกเลี้ยงในลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนล่าง (1703) ในปี  2554 มีการเลี้ยงโคนมจํานวน

                  12,759ตัว ซึ่งปริมาณการเลี้ยงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2553 ร้อยละ 0.16 อําเภอที่เลี้ยงมากที่สุด ได้แก่
                  อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จํานวน 12,462 ตัว หรือร้อยละ 97.67 ของจํานวนโคนมที่ถูกเลี้ยงใน

                  ลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนล่าง (1703) ในปี 2555 มีการเลี้ยงโคนม จํานวน 7,182 ตัว ซึ่งมีปริมาณลดลง

                  จากปี 2554 ร้อยละ 43.71 อําเภอที่มีการเลี้ยงมากที่สุด ได้แก่ อําเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
                  จํานวน 6,810 ตัว หรือร้อยละ 94.82 ของจํานวนโคนมที่ถูกเลี้ยงในลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนล่าง (1703)

                                         กระบือ ในปี 2553 มีการเลี้ยงกระบือจํานวน 482 ตัว อําเภอที่มีการเลี้ยง

                  มากที่สุด ได้แก่ อําเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี จํานวน 273 ตัว หรือร้อยละ 56.64 ของจํานวนกระบือที่ถูกเลี้ยง

                  ในลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนล่าง (1703) ในปี 2554 มีการเลี้ยงกระบือ จํานวน 526 ตัว ซึ่งมีปริมาณ
                  การเลี้ยงเพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 9.13 อําเภอที่มีการเลี้ยงมากที่สุด ได้แก่ อําเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

                  จํานวน 263 ตัว หรือร้อยละ 50.00 ของจํานวนกระบือที่ถูกเลี้ยงในลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนล่าง (1703)

                  ในปี 2555 มีการเลี้ยงกระบือ จํานวน 539 ตัว ซึ่งมีปริมาณการเลี้ยงเพิ่มขึ้นจากปี 2554 ร้อยละ 2.47 อําเภอ
                  ที่มีการเลี้ยงมากที่สุด ได้แก่ อําเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี จํานวน 236 ตัว หรือร้อยละ 43.78 ของจํานวน

                  กระบือที่ถูกเลี้ยงในลุ่มนํ้าสาขาโตนเลสาปตอนล่าง (1703)
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115