Page 51 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวนาปีของศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
P. 51

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                           37







                                     2) แมลงศัตรูข้าว
                                            2.1)  หนอนกอข้าว พบตั้งแต่ระยะกล้า ระยะตั้งท้อง จนถึงระยะออกรวง ใน
                       ประเทศไทยมีหนอนกอข้าว 4 ชนิด คือหนอนกอสีครีม หนอนกอแถบลายหนอนกอหัวด า หรือหนอนกอ
                       แถบลายสีม่วง และหนอนกอสีชมพู ทั้ง 4 ชนิดท าลายต้นข้าวเหมือนกัน คือตัวหนอนกัดกินภายในล าต้น

                       ข้าวในข้าวที่ยังเล็กหรือข้าวที่ก าลังแตกกอ จะเกิดอาการยอดเหี่ยวและแห้งตาย หากหนอนกอท าลาย
                       ระยะข้าวตั้งท้อง หรือหลังจากนั้นท าให้รวงข้าวมีสีขาว เมล็ดลีบทั้งรวง เรียกว่า ข้าวหัวหงอก รวงข้าวที่มี
                       อาการดังกล่าวจะดึงหลุดออกมาได้ง่าย ดังภาพที่ 3.6



























                                                       ภาพที่ 3.6 หนอนกอข้าว
                                                        ที่มา : กรมการข้าว (2553)


                                            2.2) แมลงบั่ว (Orseoliaoryzae Wood-Mason) เป็นแมลงศัตรูข้าวที่ส าคัญใน
                       ภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเพิ่มปริมาณ
                       ของแมลงบั่ว คือ ความชื้นสูง พื้นที่มีภูเขาหรือเชิงเขาล้อมรอบ ตัวเต็มวัยของแมลงบั่วมีลักษณะคล้ายยุง

                       หรือริ้นเวลากลางวันจะเกาะซ่อนตัวอยู่ใต้ใบข้าว บริเวณกอข้าวและจะบินไปหาที่มีแสงไฟเพื่อผสมพันธุ์
                       เพศเมียวางไข่ใต้ใบข้าว ตัวหนอนที่ฟักจากไข่จะคลานตามบริเวณกาบใบเพื่อแทรกตัวเข้าไปในกาบใบ กัด
                       กินที่จุดเจริญ (growing point) ของตายอดหรือตาข้างที่ข้อ ขณะที่ตัวหนอนอาศัยกัดกินอยู่ภายในตายอด
                       ที่ก าลังเจริญเติบโต ต้นข้าวจะสร้างหลอดหุ้มตัวหนอนไว้ ท าให้เกิดเป็นช่องกลวงที่เรียกว่า“หลอดบั่ว”
                       หรือ หลอดหอมหลอดจะยิ่งขยายใหญ่ขึ้นตรงส่วนที่ถูกหนอนบั่วท าลาย มีลักษณะเป็นหลอดยาวมีสีเขียว

                       อ่อน แตกต่างจากหนอนข้าวปกติ แมลงบั่วจะพักตัวในระยะดักแด้ในช่วงฤดูแล้ง โดยอาศัยอยู่ที่ส่วนตา
                       ยอดของพืชอาศัย ดังภาพที่ 3.7
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56