Page 54 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวนาปีของศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
P. 54

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                           40







                                                               บทที่ 4
                                                            ผลการศึกษา

                       4.1 ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมีของดินก่อน และหลังการใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงในนาข้าว

                         ของศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ต าบลคู้ยายหมี อ าเภอสนามชัย
                         เขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
                              ในการศึกษาครั้งนี้มีการเก็บตัวอย่างดินเพื่อวิเคราะห์สมบัติทางเคมีของดิน โดยท าการเก็บ
                       ตัวอย่างดินที่มีการเตรียมดินตามต ารับการทดลอง ได้แก่ 1)  ต ารับที่ 1 วิธีของเกษตรกร ใช้ปุ๋ยเคมี สูตร

                       16-20-0 อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร่ 2) ต ารับที่ 2 ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา 300  กิโลกรัมต่อไร่+ปุ๋ยเคมี
                       สูตร 16-20-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ และ 3)  ต ารับที่ 3 ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงอัตรา 300  กิโลกรัมต่อ
                       ไร่+ปุ๋ยเคมี สูตร 16-20-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่+น้ าหมักชีวภาพ (ซุปเปอร์ พด.2) อัตราส่วน 1:500 ใช้
                       ฉีดพ่นในอัตรา 30 ลิตรต่อไร่ โดยท าการเก็บตัวอย่างดินที่ระดับความลึก 0-15 เซนติเมตร จ านวน 2 ครั้ง

                       ทั้งก่อนและหลังท านา โดยปีที่ 1  ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2558  และปีที่ 2  ระยะเวลา
                       ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งผลการศึกษาดังนี้
                               4.1.1 สมบัติทางเคมีของดินปีที่ 1 พ.ศ. 2558

                                     จากการวิเคราะห์ดินก่อนเริ่มด าเนินการศึกษา พบว่า ดินเป็นกรดรุนแรง มีค่าความเป็น
                       กรดเป็นด่างของดิน เท่ากับ 5.1 มีปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในระดับต่ าเท่ากับ 0.9 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณ
                       ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับปานกลางเท่ากับ 7 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปริมาณโพแทสเซียมที่
                       แลกเปลี่ยนได้ระดับต่ าเท่ากับ 18 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แสดงดังตารางที่ 4.1
                                     การเก็บตัวอย่างดินหลังการท านา ปีที่ 1 พบว่าการท านาที่มีการใช้ต ารับที่ 3 ปุ๋ยอินทรีย์

                       คุณภาพสูงอัตรา 300  กิโลกรัมต่อไร่+ปุ๋ยเคมี สูตร 16-20-0 อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่+น้ าหมักชีวภาพ
                       (ซุปเปอร์ พด.2) อัตราส่วน 1:500 ใช้ฉีดพ่นในอัตรา 30 ลิตรต่อไร่ มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูง ปริมาณ
                       อินทรียวัตถุ และปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้สูงกว่าอีก 2 ต ารับการทดลอง โดยค่าความเป็นกรด

                       เป็นด่างเท่ากับ 5.7 ปริมาณอินทรียวัตถุเท่ากับ 1.2 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่าปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในระดับ
                       ปานกลาง ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์เท่ากับ 11 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แสดงว่ามีปริมาณฟอสฟอรัส
                       ที่เป็นประโยชน์ระดับสูง และปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้เท่ากับ 42 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แสดง
                       ว่าปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้อยู่ในระดับต่ า แสดงดังตารางที่ 4.1

                               4.1.2 สมบัติทางเคมีของดินปีที่ 2 พ.ศ. 2559
                                     จากการวิเคราะห์ดินในปีที่ 2 ก่อนการทดลองปลูกข้าว พบว่า ดินเป็นกรดปานกลางมีค่า
                       ความเป็นกรดเป็นด่างของดินเท่ากับ 5.6 มีปริมาณอินทรียวัตถุอยู่ในระดับปานกลางเท่ากับ 1.0
                       เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์อยู่ในระดับปานกลางเท่ากับ 9.2  มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

                       และมีปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ระดับต่ าเท่ากับ 30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แสดงดังตารางที่ 4.1
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59