Page 24 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวนาปีของศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
P. 24

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       13







                                     18) กลุ่มชุดดินที่ 49
                                            ดินมีลักษณะมีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินล่างเป็นดินเหนียวปน
                       ลูกรังหรือเศษหินทราย มีสีน้ าตาล หรือเหลือง ใต้ลงไปเป็นดินสีเทา มีจุดประสีน้ าตาล สีแดง และศิลา
                       แลงปะปนอยู่ด้วยจ านวนมาก อาจพบชั้นหินทรายหรือดินดานที่ผุพังสลายตัวในชั้นถัดไป พบได้

                       บริเวณพื้นที่ดอนที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่น เป็นดินตื้นถึงตื้นมาก การระบายน้ าดีปานกลาง มีความอุดม
                       สมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ า เป็นดินกรดจัดโดยมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ประมาณ 4.5-5.5 ปัญหาหลัก
                       ของการใช้ประโยชน์ที่ดินของกลุ่มชุดดินนี้ ได้แก่ การเป็นดินตื้นมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า บางแห่งมี
                       ก้อนศิลาแลงโผล่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป เป็นอุปสรรคต่อการเกษตรกรรม บริเวณที่มีความลาดชันสูง

                       มีปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดินอย่างรุนแรง ปัจจุบันใช้ปลูกพืชไร่ ทุ่งหญ้าธรรมชาติ ที่รกร้าง
                       ว่างเปล่า ป่าเต็งรัง หรือใช้ปลูกไม้โตเร็ว
                                     19) กลุ่มชุดดินที่ 56
                                            ดินมีลักษณะมีเนื้อดินบน ระยะ 50 เซนติเมตร เป็นดินร่วน ดินล่างเป็นดิน

                       ปนเศษหินมีสีน้ าตาล เหลือง หรือแดง เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดดินพวกหินตะกอน สภาพพื้นที่เป็นลูก
                       คลื่นลอนลาดถึงเนินเขา เป็นดินลึกปานกลาง การระบายน้ าดี มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติใน
                       ระดับต่ า เป็นกรดจัด โดยมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5-5.5 ปัญหาหลักของการใช้

                       ประโยชน์ที่ดินของกลุ่มชุดดินนี้ ได้แก่ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า และในที่มีความลาดชันมากๆ อาจ
                       เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้ง่าย หากไม่มีการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม ปัจจุบันส่วน
                       ใหญ่ใช้ปลูกพืชไร่ เช่น อ้อย ข้าวโพด และมันส าปะหลัง
                                     20) กลุ่มชุดดินที่ 59
                                            เป็นดินผสมหลายชนิด เกิดจากตะกอนล าน้ าพัดพามาทับถมกัน พบบริเวณ

                       ที่ราบลุ่ม หรือบริเวณ พื้นล่างของหุบเขา สภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ ดินส่วนใหญ่มีการระบายน้ า
                       ค่อนข้างเลวถึงเลวมาก ลักษณะและคุณสมบัติไม่แน่นอน ขึ้นกับชนิดของวัตถุต้นก าเนิดดินในบริเวณ
                       นั้นๆ และมักมีก้อนกรวดและเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อดินด้วย ปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้ท านา ฤดูแล้งหากมี

                       แหล่งน้ า มักใช้ปลูกพืชไร่อายุสั้น เช่น ถั่วเขียวหรือถั่วเหลือง
                                     21) กลุ่มชุดดินที่ 60
                                            เป็นดินผสมหลายชนิด เกิดจากตะกอนล าน้ าพัดพามาทับถมกันบริเวณสัน
                       ดินริมน้ า หรือบริเวณที่เนินตะกอน ซึ่งมีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบจนถึงลูกคลื่นลอนลาด ดินมี

                       ลักษณะมีเนื้อดินร่วน บางแห่งดินชั้นบนค่อนข้างเป็นทราย หรือมีชั้นกรวด ซึ่งแสดงถึงการตกตะกอน
                       ต่างยุคของดิน อันเป็นผลมาจากการเกิดน้ าใหญ่ในอดีต ดินส่วนใหญ่มีการระบายน้ าดีปานกลาง เป็น
                       ดินลึก มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง เป็นดินกรดปานกลาง-ด่างเป็นกลาง ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์
                       ที่ดินค่อนข้างกว้างขวาง นิยมปลูกพืชผัก พืชไร่ ไม้ผล และไม้ยืนต้นต่างๆ

                                     22) กลุ่มชุดดินที่ 62
                                            เป็นกลุ่มชุดดินที่ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขาและเทือกเขา มีความลาดชัน
                       มากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ มีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดิน และความอุดมสมบูรณ์ตาม
                       ธรรมชาติ แตกต่างกันตามชนิดของวัตถุต้นก าเนิดดิน บริเวณนั้นๆ มักพบเศษหิน ก้อนหิน หรือหินพื้น

                       โผล่กระจายอยู่ทั่วไป ส่วนใหญ่ยังปกคลุมด้วยป่าไม่ประเภทต่างๆ เช่น ป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง หรือ
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29