Page 23 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวนาปีของศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
P. 23

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                       12







                                     14) กลุ่มชุดดินที่ 43
                                            ดินมีลักษณะมีเนื้อดินเป็นดินทราย บางแห่งมีเปลือกหอยปะปนอยู่ในเนื้อ
                       ดิน มีสีเทาน้ าตาลอ่อน หรือแดง พบบริเวณหาดทรายหรือสันทรายทะเล หรือบริเวณที่ลาดเชิงเขาซึ่ง
                       มีหินพื้นเนื้อหยาบในเขตฝนชุก เช่น ภาคใต้ และภาคตะวันออก เป็นดินลึก การระบายน้ า

                       ค่อนข้างมากเกินไป มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติในระดับต่ ามาก เป็นดินกรดจัด-ด่างปานกลาง
                       โดยมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 5.5-8.0 ปัญหาหลักของการใช้ประโยชน์ที่ดินของกลุ่มชุดดิน
                       นี้ ได้แก่ เนื้อดินเป็นทรายจัด มีความสามารถในการอุ้มน้ าได้น้อย พืชที่ปลูกแสดงอาการขาดน้ าอยู่
                       เสมอ นอกจากนี้ ดินยังมีความอุดมสมบูรณ์ต่ ามากอีกด้วย ปัจจุบันใช้ปลูกพืชไร่บางชนิด ได้แก่

                       มันส าปะหลัง และสับปะรด หรือใช้ปลูกไม้ผล เช่น มะพร้าว มะม่วง พุทรา และมะม่วงหิมพานต์ บาง
                       แห่งมีสภาพเป็นป่าละเมาะ หรือทุ่งหญ้าธรรมชาติ
                                     15) กลุ่มชุดดินที่ 46
                                            ดินมีลักษณะมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนกรวดหรือปนลูกรัง สีน้ าตาล เหลือง

                       หรือแดง พบบริเวณที่ดอนที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่น เป็นดินตื้นมาก การระบายน้ าดี มีความอุดม
                       สมบูรณ์ตามธรรมชาติในระดับต่ าเป็นดินกรดจัด-เป็นกลาง โดยมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ
                       4.5-7.0 ปัญหาหลักของการใช้ประโยชน์ที่ดินของกลุ่มชุดดินนี้ ได้แก่ การเป็นดินตื้น มีความอุดม

                       สมบูรณ์ต่ า บริเวณที่มีความลาดชันมาก มักมีปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้ง่าย ปัจจุบันใช้
                       ปลูกพืชไร่บางชนิด ได้แก่ มันส าปะหลัง อ้อย และปอ บางแห่งมีสภาพเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติ และป่า
                       ละเมาะ หรือมีการปลูกป่าทดแทน
                                     16) กลุ่มชุดดินที่ 47
                                            ดินมีลักษณะมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวหรือดินร่วนที่มีเศษหินปะปนมาก มัก

                       พบชั้นหินพื้นตื้นกว่า 50 เซนติเมตร สีดินเป็นสีน้ าตาล เหลืองหรือแดง สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอน
                       ลาดถึงเชิงเขา เป็นดินตื้นการระบายน้ าดี มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติในระดับต่ าถึงปานกลาง
                       เป็นดินกรดจัด-กลาง โดยมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5-7.0 ปัญหาหลักของการใช้

                       ประโยชน์ที่ดินของกลุ่มชุดดินนี้ ได้แก่ การเป็นดินตื้นมีเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อดินเป็นจ านวนมาก
                       บริเวณที่มีความลาดชันสูง มีปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดินอย่างรุนแรง ปัจจุบันเป็นป่าเบญจ
                       พรรณ ป่าเต็งรัง หรือป่าละเมาะ บางแห่งใช้ท าไร่เลื่อนลอยหรือปลูกป่าทดแทน
                                     17) กลุ่มชุดดินที่ 48

                                            ดินมีลักษณะมีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินล่างเป็นดินปนเศษหิน
                       หรือปนกรวดอาจพบ หินพื้นตื้นกว่า 50 เซนติเมตร มีสีน้ าตาลอ่อน เหลืองหรือแดง พบได้บริเวณ
                       พื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนชันจนถึงเนินเขา เป็นดินตื้นมาก มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติ เป็นกรดจัด
                       โดยมีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5-5.5 ปัญหาหลักของการใช้ประโยชน์ที่ดินของกลุ่มชุดดิน

                       นี้ ได้แก่ การเป็นดินตื้น บริเวณที่มีความลาดชันสูงมีปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้ง่าย
                       นอกจากนี้ดินยังมีความอุดมสมบูรณ์ต่ ามากอีกด้วย ปัจจุบันเป็นป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ป่าละเมาะ
                       และทุ่งหญ้าธรรมชาติ บางแห่งใช้ปลูกพืชไร่หรือไม้โตเร็ว
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28