Page 19 - การใช้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูงปรับปรุงบำรุงดินเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวนาปีของศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
P. 19

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                                                                         8







                       ภูเขา ไม่เหมาะในการท าการเกษตรและเป็นพื้นที่ป่าไม้เป็นส่วนใหญ่ (กรมทรัพยากรทางทะเลและ
                       ชายฝั่ง, 2555)

                       2.4 ทรัพยากรดิน

                              2.4.1 ลักษณะดินแต่ละพื้นที่ (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2555)
                                     จังหวัดฉะเชิงเทรา มีลักษณะดินที่แตกต่างกันตามพื้นที่ดิน ดังนี้
                                     1) ที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล เกิดจากการทับถมของดินตะกอนน้ าทะเลและน้ ากร่อย
                       เนื้อดินเป็นดินเหนียว มีการระบายน้ าเลวถึงเลวมาก มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติสูง รวมทั้งมี

                       ความเค็มสูงเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากการที่มีน้ าทะเลท่วมถึง นอกจากนี้บางแห่งยังมีศักยภาพเป็น
                       กรดจัด หากมีการระบายน้ าออกจากพื้นที่
                                     2) ที่ราบลุ่มน้ าทะเลเคยท่วมถึง เกิดจากการทับถมของตะกอนน้ าทะเลและน้ ากร่อย
                       เนื้อดินเป็นดินเหนียว มีการระบายน้ าเลวถึงเลวมาก มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ าถึงปาน

                       กลาง แห่งพบสารจาโรไซต์อยู่ในชั้นดิน ท าให้ดินมีปฏิกิริยาเป็นกรดจัด
                                     3) ตะพักล าน้ าและตะกอนรูปพัดที่เกิดสลับซับซ้อน เกิดจากการทับถมของตะกอน
                       ล าน้ าหรือวัตถุที่ถูกน้ าเคลื่อนย้ายมาจากที่สูงกว่า ลักษณะพื้นที่จะแตกต่างกันตามลักษณะของลาน

                       ตะพักล าน้ า โดยบริเวณที่เป็นลานตะพักล าน้ าระดับต่ าจะเป็นที่ราบ - ค่อนข้างราบ มีการระบายน้ า
                       เลว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดปานกลาง บริเวณที่เป็นลานตะพักล าน้ าระดับกลางและสูง จะเป็น
                       พื้นที่ลูกคลื่นลอนลาด มีการระบายน้ าดี ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงกรดเล็กน้อย มีความอุดมสมบูรณ์
                       ตามธรรมชาติต่ าถึงปานกลาง
                                     4) พื้นผิวที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน ลักษณะพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด - ลอนชัน

                       เนื้อดินเป็นดินเนื้อละเอียด - หยาบ แตกต่างกันตามลักษณะของวัตถุต้นก าเนิดดิน มีการระบายน้ าดี
                       แต่มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ า
                                     5) เขาและภูเขา พบในที่สูง มีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ลักษณะเนื้อดิน

                       แตกต่างกันตามลักษณะของวัตถุต้นก าเนิดดิน สามารถเกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้ง่าย
                                     6)  หน่วยดินอื่นๆ ได้แก่ พื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้ง บ่อปลา นาเกลือ แม่น้ า ล าคลอง บึง
                       บ่อน้ า และบ่อลูกรัง เป็นต้น
                              2.4.2 กลุ่มชุดดินในจังหวัดฉะเชิงเทรา (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2555)

                                     1) กลุ่มชุดดินที่ 2
                                            ดินมีลักษณะมีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินบนมีสีเทาหรือเทาแก่ ดินล่างมีสี
                       เทา มีจุดประสีน้ าตาล และเหลืองหรือแดง ถ้าเกิดบริเวณชายฝั่งทะเล หรือที่ราบลุ่มภาคกลาง พบจุด
                       ประสีเหลืองของสารจาโรไซท์ ที่ระดับความลึกผิวดินประมาณ 100-150 เซนติเมตร ใต้ลงไปเป็นก้อน

                       น้ าทะเล สีเทาปนเขียว ดินกลุ่มนี้เป็นดินลึก การระบายน้ าเลว มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติใน
                       ระดับปานกลาง เป็นดินกรดจัด โดยมีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ประมาณ 4.5-5.0 ซึ่งเป็นปัญหาหลัก
                       ของการใช้ประโยชน์ที่ดินของกลุ่มชุดดินนี้ มีผลกระทบต่อการให้ผลผลิตของพืช ปัจจุบันใช้ท านา บาง
                       แห่งมีการยกร่อง เพื่อปลูกไม้ยืนต้นและไม้ผลบางชนิด ดินในกลุ่มชุดดินนี้ เมื่อมีการจัดการดินที่ดี

                       สามารถให้ผลผลิตค่อนข้างสูง
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24