Page 218 - การกำหนดเขตการใช้ที่ดินสำหรับปลูกข้าวหอมมะลิของประเทศไทย
P. 218

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                             6-4





                              - แนะนําและส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ ยอินทรีย์ร่วมกับการใช้ปุ๋ ยเคมีเน้นการปรับปรุง
                      บํารุงดินโดยการใส่ปุ๋ ยหมักหรือปุ๋ ยพืชสด การแก้ปัญหาดินที่มีข้อจํากัดต่างๆ เช่น ดินเปรี้ยว ดินเค็ม

                      เป็นต้น
                              -  แนะนําและส่งเสริมให้เกษตรกรปฏิบัติและดูแลการผลิตอย่างถูกต้องตามหลักเกษตรดี

                      ที่เหมาะสม (GAP)
                              -  แนะนําและส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่ม เพื่อการบริหารจัดการผลผลิต การตลาด

                      การบริหารในรูปกลุ่ม และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว

                              -  พัฒนาระบบชลประทานเพื่อลดปัญหาการขาดแคลนนํ้าในช่วงฝนทิ้งช่วง ป้ องกัน
                      ความเสียหายต่อผลผลิตข้าว

                            6.2.3  เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมน้อย (Z-III)

                                 มีเนื้อที่ 44,796,604 ไร่หรือร้อยละ 61.70 ของเนื้อที่เขตการใช้ที่ดิน มีผลผลิตคาดการณ์
                      ประมาณ 25.00 ล้านตันแบ่งเป็น

                                 ภาคเหนือ มีเนื้อที่ 7,395,774 ไร่หรือร้อยละ 10.19 พื้นที่เขตนี้ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัด
                      เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี

                                 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ 34,399,587 ไร่หรือร้อยละ 47.38 พื้นที่เขตนี้ส่วนใหญ่อยู่
                      ในจังหวัดอุบลราชธานี นครราชสีมา ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ และขอนแก่น

                                 ภาคกลาง มีเนื้อที่ 1,722,792 ไร่หรือร้อยละ 2.37 พื้นที่เขตนี้ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัด

                      ลพบุรี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และสระบุรี
                                 ภาคตะวันออก มีเนื้อที่ 1,108,528 ไร่หรือร้อยละ 1.52 พื้นที่เขตนี้ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัด

                      สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง
                                 ภาคใต้ มีเนื้อที่ 169,923 ไร่หรือร้อยละ 0.24 พื้นที่เขตนี้ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดยะลา

                      สงขลา สตูล พัทลุงและตรัง
                                 แนวทางการพัฒนา

                              -  จัดหาแหล่งนํ้า หรือเพิ่มระบบคูคลองเข้าพื้นที่การเกษตร รวมถึงพัฒนาด้านแหล่งกักเก็บนํ้า

                      ในไร่นา
                              -  แนะนําและส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เมล็ดพันธุ์ดีที่ได้รับการรับรองพันธุ์รวมถึงการใช้

                      พันธุ์ข้าวที่เหมาะสมกับพื้นที่
                                 - แนะนําและส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ ยอินทรีย์ ร่วมกับการใช้ปุ๋ ยเคมีเน้นการปรับปรุง

                      บํารุงดินโดยการใส่ปุ๋ ยหมักหรือปุ๋ ยพืชสด การแก้ปัญหาดินที่มีข้อจํากัดต่างๆ เช่น ดินเปรี้ยว ดินเค็ม เป็นต้น
   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222   223