Page 25 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 25

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           15








               ตารางที่ 2  การจัดลําดับชั้นศักยภาพการใช้เครื่องจักร

                                                                       ชั้นศักยภาพฯ
                  คุณลักษณะของดิน     หน่วย
                                               น้อยมาก     ปานกลาง      มาก      รุนแรง     รุนแรงมากที่สุด
               ความลาดชัน               %         < 5        5-12      12-35     35-50          > 50
               หินพื้นโผล่              %         1           4          10       25            > 25

               หินก้อน (หินบน)          %         1           5          15       40            > 40
               ดินเหนียวจัด             -        ไม่มี       ไม่มี     มี/ไม่มี   มี/ไม่มี     มี/ไม่มี

               ที่มา: บัณฑิต และคํารณ (2542)

                           13)  ความเสียหายจากการกัดกร่อน (e : erosion hazard) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่

               ความลาดชันของพื้นที่และปริมาณดินที่สูญเสีย พื้นที่ที่มีความลาดชันสูงโอกาสที่ดินจะถูกกัดกร่อนก็เป็นไป
               ได้ง่ายขึ้น เมื่อผิวหน้าดินถูกกัดกร่อน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากอิทธิพลของนํ้า ดินจะถูกพัดพาไปโดยขบวนการ

               ไหลบ่าของนํ้า ทําให้ธาตุอาหารที่อยู่ในดินสูญเสียตามไปด้วย รวมทั้งตะกอนที่เกิดขึ้นจะมีผลกระทบต่อ

               สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป
                             ชั้นมาตรฐานความเสียหายจากการกร่อน

                                     ชั้นมาตรฐาน                 การสูญเสียของชั้นดิน (เปอร์เซ็นต์)

                                     1)  ไม่มีการกร่อน               0
                                     2)  กร่อนเล็กน้อย               > 0 - < 25

                                     3)  กร่อนปานกลาง          25-75

                                     4)  กร่อนรุนแรง                 > 75 - < 100
                                     5)  กร่อนรุนแรงมาก          100

                       3.11  ชั้นความเหมาะสมของที่ดิน (land suitability class) เป็นผลของการประเมินคุณภาพที่ดินโดย

               แสดงข้อจํากัดของคุณลักษณะที่ดินที่มีผลโดยตรง คือ การใช้ประโยชน์ที่ดิน การจําแนกชั้นความเหมาะสม

               ของที่ดินสําหรับการปลูกพืช แบ่งออกเป็น 4 ชั้น ดังนี้ (สํานักนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน, 2553)
                             1)  ที่ดินมีความเหมาะสมสูง  (S1  :  highly  suitable)  การใช้ที่ดินไม่มีข้อจํากัดใดๆ  ที่จะลด

               ความสามารถในการผลิต หรือจะต้องเพิ่มปัจจัยในการผลิตต่างๆ

                             2)  ที่ดินมีความเหมาะสมปานกลาง (S2 : moderately suitable) ที่ดินมีความเหมาะสมในการใช้

               ประโยชน์ แต่มีข้อจํากัดบางอย่างที่อาจลดความสามารถในการผลิตหรือจะต้องเพิ่มปัจจัยการผลิต เพื่อรักษา
               ระดับความสามารถในการผลิตของที่ดิน เมื่อเปรียบเทียบกับที่ดินที่อยู่ในระดับความเหมาะสมสูง

                             3)  ที่ดินมีความเหมาะสมเล็กน้อย (S3 : marginally suitable) ที่ดินมีข้อจํากัดในการใช้ประโยชน์

               อยู่ในระดับรุนแรง ซึ่งการได้รับผลตอบแทนหรือการใช้ปัจจัยการผลิตแทบจะไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30