Page 28 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 28

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           18








               ข้อมูล ส่วนการจัดเตรียมข้อมูลจะใช้วิธีการคัดเลือก (Table Analysis) และการซ้อนทับระหว่างข้อมูลต่างๆ
               กับขอบเขตลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับเสลา

                           6.2.3    วิเคราะห์ข้อมูล โดยนําข้อมูลที่เตรียมไว้ ได้แก่ ข้อมูลกลุ่มชุดดิน ข้อมูลสภาพการใช้

               ประโยชน์ที่ดิน ข้อมูลชลประทาน ข้อมูลป่าไม้และข้อมูลเขตจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มนํ้าสาขา
               ห้วยทับเสลา (รหัส 1104) มาวิเคราะห์ร่วมกันโดยการซ้อนทับข้อมูลด้วยโปรแกรมระบบสารสนเทศ

               ภูมิศาสตร์ เพื่อนํามาจัดทําหน่วยที่ดิน และวิเคราะห์สภาพปัญหาของดิน สําหรับใช้ในการวางแผนการใช้

               ที่ดิน  ซึ่งได้ใช้สัญลักษณ์แทนข้อมูลที่พบ เช่น ข้อมูลชลประทานใช้สัญลักษณ์ I  การยกร่องเพื่อปลูกไม้ยืน
               ต้นหรือไม้ผลในพื้นที่ลุ่มใช้สัญลักษณ์ M2  และการใช้ที่ดินปลูกข้าวในพื้นที่ดอนใช้สัญลักษณ์ b  เป็นต้น

                           6.2.4    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในภาคสนามว่าตรงตามที่เราได้ให้หน่วยที่ดินไว้

               หรือไม่ โดยเปรียบเทียบจากข้อมูลที่ได้มีการวิเคราะห์และทําการปรับข้อมูลให้ตรงกับสภาพพื้นที่จริง
                           6.2.5  ประเมินคุณภาพที่ดิน ซึ่งหน่วยที่ดินแต่ละหน่วยนั้นจะมีลักษณะเฉพาะและจะถูก

               นําไปใช้ประกอบการประเมินคุณภาพที่ดินสําหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ ซึ่งในการประเมินคุณภาพของดิน

               นั้นจะจัดชั้นตามชั้นมาตรฐานของแต่ละปัจจัยพิจารณา คุณภาพที่ดินที่ได้นํามาใช้ในการพิจารณาในครั้งนี้

               ประกอบด้วย
                                1)  ระบอบอุณหภูมิ (Temperature  regime,  t)  คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน

               คือ อุณหภูมิเฉลี่ยในฤดูปลูก

                                2) ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (Moisture  availability,  m)  คุณลักษณะที่ดิน
               ที่เป็นตัวแทน คือ ปริมาณนํ้าฝนเฉลี่ยในรอบปี หรือความต้องการนํ้าในช่วงการเจริญเติบโตของพืช

                                3) ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (Oxygen availability, o) คุณลักษณะ

               ที่ดินที่เป็นตัวแทน คือ สภาพการระบายนํ้าของดิน

                                4) ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (Nutrient availability, s) คุณลักษณะที่ดินเป็น
               ตัวแทน คือ ความอุดมสมบูรณ์ของดิน

                                5) ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (Nutrient  retention  capacity,  n)  คุณลักษณะที่ดิน

               ที่เป็นตัวแทน คือ ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก ความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่าง
                                6) สภาวะการหยั่งลึกของราก (Rooting  conditions,    r)  คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน

               คือ ความลึกของดิน ชั้นการหยั่งลึกของรากพืช (Root penetration class)

                                7) สภาวะการเขตกรรม (Soil  workability,  k)  คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน
               คือ ชั้นความยากง่ายในการเขตกรรม (ดินบน)

                                8) ศักยภาพการใช้เครื่องจักรกล (Potential  for  mechanization,  w)  คุณลักษณะที่ดิน

               ที่เป็นตัวแทน คือ ความลาดชันของพื้นที่ ปริมาณหินโผล่ ปริมาณก้อนหิน
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33