Page 30 - การวิเคราะห์จัดทำหน่วยที่ดินเพื่อประกอบการวางแผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104)
P. 30

ห้องสมุดกรมพัฒนาที่ดิน
                                                           20







               7. ผลการศึกษา


                       7.1  ข้อมูลทั่วไป

                           7.1.1  ที่ตั้งและอาณาเขต

                         ลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับเสลา (รหัส 1104) เป็นลุ่มนํ้าสาขาหนึ่งของลุ่มนํ้าหลักแม่นํ้าสะแกกรัง

               (รหัส 11) ตั้งอยู่ในภาคเหนือ ตอนล่าง ระหว่างเส้นรุ้งที่ 15° 21´ 57´´ เหนือ ถึงเส้นรุ้งที่ 15° 46´ 05´´ เหนือ และ


               เส้นแวงที่ 99° 12´ 27´´ ตะวันออก ถึงเส้นแวงที่ 99° 43´ 10´´ ตะวันออก มีเนื้อที่ 742.12 ตารางกิโลเมตร หรือ

               463,825  ไร่ พื้นที่ลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับเสลา อยู่ในเขตอําเภอลานสัก และอําเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี

               และอําเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ (ภาพที่ 1)

                              ทิศเหนือ       ติดต่อ  ลุ่มนํ้าสาขานํ้าแม่วง (รหัส 1102)

                                                   ลุ่มนํ้าสาขาคลองโพธิ์ (รหัส 1103)

                              ทิศใต้         ติดต่อ  ลุ่มนํ้าสาขาที่ราบแม่นํ้าท่าจีน (รหัส 1303)

                                                   ลุ่มนํ้าสาขาห้วยขาแข้ง (รหัส 1405)

                              ทิศตะวันออก  ติดต่อ  ลุ่มนํ้าสาขาแม่นํ้าสะแกกรังตอนล่าง (รหัส 1105)

                              ทิศตะวันตก    ติดต่อ  ลุ่มนํ้าสาขาห้วยขาแข้ง (รหัส 1405)


                           7.1.2  สภาพภูมิประเทศ

                         สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปของลุ่มนํ้าสาขาห้วยทับเสลา เป็นที่ราบเรียบจนถึงภูเขาสูง

               ครอบคลุมพื้นที่อําเภอลานสัก และอําเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี และอําเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์
               โดยมีจุดสูงสุดของพื้นที่อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของลุ่มนํ้าสาขา มีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง

               1,310 เมตร พื้นที่ลุ่มนํ้ามีความกว้างจากทางด้านตะวันออกถึงตะวันตกประมาณ 54.75 กิโลเมตร มีความยาว

               จากทางด้านเหนือถึงด้านใต้ประมาณ 44.10 กิโลเมตร สภาพพื้นที่จะค่อย ๆ ลาดเทไปทางบริเวณตอนกลาง
               และทิศตะวันออกของลุ่มนํ้าสาขา บริเวณตอนกลางของพื้นที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนลาดถึงลูกคลื่น

               ลอนชัน โดยมีลักษณะเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ สลับกับที่ราบ ทางด้านทิศตะวันออกของพื้นที่จะเป็นที่ราบลุ่มถึง

               ที่ราบ โดยมีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 26-70 เมตร (ภาพที่ 2 และภาพที่ 3)
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35