Page 45 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองนาทวี
P. 45
3-3
- หน่วยที่ดินที่ 6M สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการดัดแปลง
พื้นที่โดยการยกร่องเพื่อปลูกพืช มีเนื้อที่ 16,605 ไร่ หรือร้อยละ 1.69 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
- หน่วยที่ดินที่ 6MI สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการดัดแปลง
พื้นที่โดยการยกร่องเพื่อปลูกพืช และมีระบบชลประทาน มีเนื้อที่ 11,385ไร่ หรือร้อยละ 1.16 ของ
พื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
(3) กลุ่มชุดดินที่เป็นดินเลนชายทะเล เป็นกลุ่มดินที่เกิดจากวัตถุต้นก้าเนิดดินพวก
ตะกอนน้้าทะเล ในบริเวณที่ราบน้้าทะเลท่วมถึงและบริเวณชะวากทะเล มีสภาพพื้นที่ราบเรียบ
หรือค่อนข้างราบเรียบ เป็นกลุ่มดินลึกที่มีการระบายน้้าเลวมาก เมื่อมีการดัดแปลงพื้นที่โดยการยกร่อง
ปลูกพืช จะมีการระบายน้้าดีปานกลาง เป็นดินเลนเละ ที่มีเนื้อดินเป็นดินเหนียวหรือหรือดินร่วนเหนียว
ปนทรายแป้ง ดินบนมีสีด้าปนเทา มีจุดประสีน้้าตาลเล็กน้อย ส่วนดินล่างเป็นดินเลนสีเทาแก่หรือสีเทา
ปนเขียว และพบเศษรากพืชปะปนในดินเป็นจ้านวนมาก เป็นดินที่มีสารประกอบก้ามะถันปะปนอยู่มาก
ตามปกติเมื่อดินจะเป็นกลางหรือเป็นด่างแต่เมื่อมีการระบายน้้าออกไปหรือท้าให้ดินแห้ง สารประกอบ
ก้ามะถันจะแปรสภาพปลดปล่อยกรดก้ามะถันออกมา ท้าให้ดินเป็นกรดจัดมาก ดินกลุ่มนี้จัดเป็นดินเค็ม
ที่มีกรดแฝงอยู่ มีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงด่างปานกลาง มีค่าความเป็น
กรด-ด่าง ดินบนอยู่ระหว่าง 6.0-8.0 ค่าความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกสูง และความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็น
ด่างสูง ค่าการน้าไฟฟ้าของดินสูง ตามปกติบริเวณที่พบดินเหล่านี้ มักมีป่าชายเลนขึ้นปกคลุม แต่ในปัจจุบัน
บริเวณดังกล่าวใช้ท้านา บางแห่งมีการยกร่องปลูกปาล์มน้้ามัน และยางพารา หากไม่มีการจัดการที่เหมาะสม
ผลผลิตมักลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเกิดกรดและการเกิดสารพิษบางอย่าง เช่น ก๊าซไข่เน่า เป็นต้น
แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ
- หน่วยที่ดินที่ 13/14 เป็นหน่วยที่ดินรวม หรือ หน่วยที่ดินเชิงซ้อน ประกอบด้วย
หน่วยที่ดินที่ 13 และ หน่วยที่ดิน 14 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ 957 ไร่ หรือร้อยละ
0.10 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
(4) กลุ่มชุดดินที่เป็นดินเปรี้ยวจัดลึกปานกลาง เป็นกลุ่มดินที่เกิดจากวัตถุ
ต้นก้าเนิดดินพวกตะกอนผสมของตะกอนล้าน้้าและตะกอนน้้าทะเลแล้วพัฒนาในสภาพน้้ากร่อย
ในบริเวณที่ลุ่มต่้าชายฝั่งทะเล หรือบริเวณพื้นที่พรุ มีน้้าแช่ขังในช่วงฤดูฝน เป็นกลุ่มดินลึกที่มี
การระบายน้้าเลวมาก มีเนื้อดินเป็นดินเหนียว ดินบนมีสีด้าหรือสีเทาปนด้า ซึ่งมีปริมาณ
อินทรียวัตถุสูง ดินล่างมีสีเทา มีจุดประสีเหลืองและสีน้้าตาลปะปนอยู่เล็กน้อย ดินช่วงล่างลึก
กว่า 80 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นดินเลนสีเทาปนเขียวที่มีสารประกอบก้ามะถันมาก ดินมีความ
อุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมาก มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
น้อยกว่า 4.5 ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นป่าเสม็ด มีวัชพืชต่างๆ เช่น กก กระจูด และ
แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้้าสาขาคลองนาทวี