Page 44 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองนาทวี
P. 44

3-2





                  ที่ห่างจากทะเลไม่มากนัก มีน้้าแช่ขังในช่วงฤดูฝน เป็นกลุ่มดินลึกที่มีการระบายน้้าเลว มีเนื้อดินเป็น

                  ดินเหนียวหรือดินเหนียวจัด หน้าดินอาจแตกระแหงเป็นร่องในฤดูแล้ง และมีรอยถูไถลในดิน สีดิน

                  ส่วนมากจะเป็นสีเทาหรือสีเทาแก่ตลอด และมีจุดประสีน้้าตาล สีเหลือง หรือสีแดงปะปนตลอดชั้นดิน
                  อาจพบผลึกยิปซั่มบ้างเล็กน้อย จะพบชั้นดินเหนียวสีเทาที่มีจุดประสีเหลืองของสารจาโรไซต์หรือชั้นที่

                  แสดงถึงอิทธิพลของการเป็นดินกรดจัด ในระดับความลึกประมาณ 100 ถึง 150 เซนติเมตร ทับอยู่บนชั้น

                  ดินเลนตะกอนน้้าทะเลที่มีสีเทาปนเขียว ปฏิกิริยาดินเป็นกรดรุนแรงมากถึงกรดจัด มีค่าความเป็นกรด

                  เป็นด่างประมาณ 4.0-5.5  ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลาง ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวใช้
                  ท้านา บางแห่งมีการยกร่องปลูกปาล์มน้้ามัน และยางพารา หากไม่มีการใช้ปูนเพื่อแก้ไขความเป็นกรด

                  ของดิน พืชที่ปลูกมักไม่ค่อยได้ผล แบ่งเป็นหน่วยที่ดินต่างๆ คือ

                                - หน่วยที่ดินที่ 2 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ 5,868 ไร่

                  หรือร้อยละ 0.60 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
                                - หน่วยที่ดินที่  2I  สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีระบบ

                  ชลประทาน มีเนื้อที่ 6,530 ไร่ หรือร้อยละ 0.67 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                - หน่วยที่ดินที่  2M สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการดัดแปลง
                  พื้นที่โดยการยกร่องเพื่อปลูกพืช มีเนื้อที่ 3,535 ไร่ หรือร้อยละ 0.36 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา

                                - หน่วยที่ดินที่  2MI  สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีการดัดแปลง

                  พื้นที่โดยการยกร่องเพื่อปลูกพืช และมีระบบชลประทาน มีเนื้อที่ 1,311 ไร่ หรือร้อยละ 0.13 ของพื้นที่
                  ลุ่มน้้าสาขา

                                (2)   กลุ่มชุดดินที่เป็นดินเหนียวลึกมากสีเทา ที่เกิดจากวัตถุต้นก้าเนิดดินพวก

                  ตะกอนล้าน้้า พบในบริเวณพื้นที่ราบตะกอนน้้าพาที่ลุ่ม มีสภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ
                  มีน้้าแช่ขังในช่วงฤดูฝน การระบายน้้าเลว ความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่้า ค่าความเป็นกรด-ด่าง

                  ดินบนอยู่ระหว่าง 5.0-6.5 ค่าความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกต่้ามากถึงต่้าปานกลาง และความ

                  อิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่างต่้า พบในพื้นที่ลุ่มต่้า มีน้้าไหลบ่าท่วมขังสูงในฤดูฝน ปัจจุบันบริเวณ

                  ดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ท้านา บางพื้นที่มีการยกร่องเพื่อปลูกไม้ยืนต้น เช่น ปาล์มน้้ามัน แบ่งเป็นหน่วย
                  ที่ดินต่างๆ คือ

                                  -  หน่วยที่ดินที่ 6 สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีเนื้อที่ 26,093 ไร่

                  หรือร้อยละ 2.66 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา
                                - หน่วยที่ดินที่ 6I สภาพพื้นที่ราบเรียบหรือค่อนข้างราบเรียบ มีระบบชลประทาน

                  มีเนื้อที่ 25,179 ไร่ หรือร้อยละ 2.57 ของพื้นที่ลุ่มน้้าสาขา









                                                                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49