Page 164 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองบำบัง
P. 164

4-11





                                         2.  หน่วยงานของรัฐต้องเร่งให้การสนับสนุนทั้งเงินลงทุน และทางวิชาการ

                  แก่เกษตรกรในพื้นที่เขตนี้อย่างจริงจังเพราะเป็นพื้นที่ที่ทรัพยากรที่ดินมีข้อจ้ากัดต่อการเกษตรกรรม

                  ค่อนข้างสูง แต่เกษตรกรในพื้นที่มีความยากจน และไม่สามารถเปลี่ยนการประกอบอาชีพเป็นอย่างอื่นได้
                                  3.  ปรับปรุงโครงสร้างของดิน โดยการใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก ซึ่งจะ

                  ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการอุ้มน้้าของดิน และเพิ่มปริมาณธาตุอาหารพืช โดยมีการใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์

                  ที่เหมาะสมกับชนิดพืช ทั้งเรื่องสูตรปุ๋ย จ้านวนและช่วงระยะที่ใส่ปุ๋ยที่เหมาะสม

                                  4.  พื้นที่ลาดชันควรส่งเสริมให้มีการจัดอนุรักษ์ดินและน้้าในพื้นที่

                          2.3   เขตเร่งรัดพัฒนาการเกษตร (หน่วยแผนที่ 23)

                                  มีเนื้อที่ 30,490 ไร่ หรือร้อยละ 11.98 ของเนื้อที่ลุ่มน้้าสาขา เป็นพื้นที่ที่ใช้น้้าฝนเป็นหลัก
                  ในการเกษตรและพบปัญหาการใช้ที่ดิน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นดินตื้น รวมถึงเป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง                                              3-44

                  จึงก่อให้เกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดิน แต่เนื่องจากเกษตรกรมีความจ้าเป็นต้องใช้พื้นที่ดังกล่าว
                  เพื่อท้าการเกษตร ทั้งที่ผลการประเมินความเหมาะสมของที่ดินในเขตนี้อยู่ระดับเหมาะสมเล็กน้อย

                  จ้าเป็นต้องปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งวิธีการอาจยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูง พื้นที่นี้สามารถแบ่งเขตการใช้ที่ดิน

                  เพื่อการผลิตได้ 3 เขต ดังนี้
                                   2.3.1  เขตท านา (หน่วยแผนที่ 231)

                                         มีเนื้อที่ 4,685  ไร่ หรือร้อยละ 1.84  ของเนื้อที่พื้นที่ลุ่มน้้า สภาพพื้นที่เป็น ดินตื้น
                  มีกรวดทรายปนอยู่ในชั้นดิน ลักษณะทางกายภาพของดินไม่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวเนื่องจากเป็นดินตื้น

                  และการระบายน้้าดีถึงดีมาก พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพของนาร้าง

                                         แนวทางการพัฒนา
                                  1.  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องการจัดการน้้าควรพิจารณาแหล่งน้้าขนาดเล็กในพื้นที่

                  รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพของแหล่งน้้าตามธรรมชาติ เช่น เหมือง ฝาย ให้สามารถกักเก็บน้้าได้ดีขึ้น

                                  2.  ส่งเสริมทางเลือกในการพัฒนาที่ดินโดยให้ความรู้เรื่องเกษตรผสมผสาน

                  ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยการขุดบ่อเลี้ยงปลา ยกร่องปลูกผัก ไม้ผลยืนต้น ร่วมกัน
                                  3.  ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้พื้นที่ให้เหมาะสมกับศักยภาพของที่ดินโดย

                  ส่งเสริมชนิดพันธุ์ที่เหมาะสมในพื้นที่ หากต้องการน้าพื้นที่นาร้างมาใช้ในการปลูกข้าวต้องปรับปรุง

                  ดินในพื้นที่ดังกล่าวก่อนท้านา
                                         4.  ส่งเสริมให้เกษตรกรปรับปรุงคุณภาพของดินโดยเน้นการปรับปรุง

                  โครงสร้างดินให้ดีขึ้น จึงควรส่งเสริมให้เกษตรกรคลุมดิน ให้ดินมีความชื้นและสามารถย่อยสลาย

                  เพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดิน








                  แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้้าสาขาคลองบ้าบัง
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169