Page 163 - แผนการใช้ที่ดินลุ่มน้ำสาขาคลองบำบัง
P. 163

4-10





                                  4.  ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันเพื่อผลักดันให้ชุมชนมีโรงสีข้าวเป็นของ

                  กลุ่มและสร้างอ้านาจต่อรองทางการตลาด

                                   2.2.2  เขตปลูกไม้ผล (หน่วยแผนที่ 223)

                                  มีเนื้อที่ 3,563 ไร่ หรือร้อยละ 1.40 ของเนื้อที่ลุ่มน้้าสาขา พืชที่ปลูกได้แก่
                  ทุเรียน เงาะ สภาพพื้นที่ราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาด เป็นดินลึกปานกลางถึงดินลึก มีความเหมาะสม

                  ทางกายภาพปานกลาง โดยมีข้อจ้ากัดเรื่องความอุดมสมบูรณ์ในดินมักพบอยู่บริเวณริมน้้า สามารถ

                  สูบน้้าขึ้นมาใช้ในช่วงฤดูแล้งได้

                                  แนวทางการพัฒนา
                                  1.   ส่งเสริมให้มีการขยายเขตโครงการชลประทานในพื้นที่เกษตรกรรม

                                  2.   หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องการจัดการน้้าควรพิจารณาแหล่งน้้าขนาดเล็ก

                  ในพื้นที่รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพของแหล่งน้้าตามธรรมชาติ เช่น เหมือง ฝาย ให้สามารถกักเก็บน้้า
                  ได้ดีขึ้น

                                  3.  ควรปรับปรุงคุณภาพของดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ โดยใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์

                  ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ตามความเหมาะสมของคุณภาพดิน
                                  4.  ส่งเสริมทางเลือกในการพัฒนาที่ดินโดยให้ความรู้เรื่องเกษตรผสมผสาน

                  ตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยการขุดบ่อเลี้ยงปลา ยกร่องปลูกผัก ไม้ผล และไม้ยืนต้นร่วมกัน

                                         5.  ส่งเสริมให้เกษตรกรร่วมกันปลูกพืชผักอินทรีย์เพื่อเพิ่มมูลค่าการผลิต
                                  6.  ส่งเสริมให้เกษตรกรรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และสร้างอ้านาจต่อรอง

                  ทางการเกษตร

                                   2.2.3  เขตปลูกไม้ยืนต้น (หน่วยแผนที่ 224)

                                         มีเนื้อที่ 20,507 ไร่ หรือร้อยละ 8.06 ของเนื้อที่ลุ่มน้้าสาขา ดินมีการระบายน้้าดี
                  มีความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติค่อนข้างต่้า ปัจจุบันนิยมปลูกยางพาราและปาล์มน้้ามัน กันเป็นจ้านวน

                  มาก จากผลการประเมินความเหมาะสมทางกายภาพ พบดินมีความเหมาะสมเล็กน้อย โดยมีข้อจ้ากัด

                  เรื่องการหยั่งลึกของรากพืช และมีแนวโน้มของการเกิดการชะล้างพังทลายของดิน

                                  แนวทางการพัฒนา
                                  1.  ควรพัฒนาแหล่งน้้าขนาดเล็กในพื้นที่ รวมถึงปรับปรุงประสิทธิภาพของ

                  แหล่งน้้าตามธรรมชาติ เช่นเหมือง ฝาย ให้สามารถกักเก็บน้้าได้ รวมถึงการส่งเสริมให้มีการขยาย

                  เขตโครงการชลประทานในพื้นที่เกษตรกรรม










                                                                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168