Page 27 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองกระทือ ลำดับที่ พช.7 (2556) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำป่าสักส่วนที่ 3 (รหัส 1205) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำป่าสัก (รหัส 12) พื้นที่ดำเนินการบ้านเขารวก หมู่ที่ 8 ตำบลกันจุ และบ้านวังไลย์ หมู่ที่ 1 ตำบลสระแก้ว อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 27

18





                  ชั้นความเหมาะสมของดินแต่ละชั้นจะประกอบด้วยชุดดินหลายชุด แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าชั้นความ
                  เหมาะสมของดินแต่ละชั้นนั้นต้องการการจัดการหรือการดูแลรักษาที่เหมือนกันเสมอไป ชั้นความเหมาะสม

                  ของดินแต่ละชั้นจะมีข้อจ ากัดปลีกย่อยลงไปอีก เรียกว่า ชั้นความเหมาะสมของดินย่อย (subclass)
                                        1.2) ชั้นความเหมาะสมของดินแต่ละชั้นยกเว้นชั้นความเหมาะสมที่ 1  จะระบุ

                  ลักษณะและสมบัติของดินที่มีผลต่อการเจริญเติบโตหรือมีผลกระทบต่อผลผลิตของพืชที่ปลูก ลักษณะของ

                  ดินที่ระบุไว้ในชั้นความเหมาะสมของดินส าหรับการปลูกพืชแต่ละชั้น เรียกว่า ข้อจ ากัด  (limitation)  การ
                  จ าแนกความเหมาะสมของดินแต่ละชั้นจะต้องตรวจสอบว่าดินแต่ละชุดนั้นมีลักษณะอะไรบ้างที่รุนแรงที่สุด

                  ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตหรือมีผลกระทบต่อผลผลิตของพืชก็จะตกอยู่ในชั้นความเหมาะสมนั้น

                                      1.3) เมื่อทราบชั้นความเหมาะสมของดินส าหรับการปลูกพืชแล้วให้ท าการ จ าแนก
                  ชั้นความเหมาะสมย่อยลงไป โดยจะระบุชนิดของข้อจ ากัดที่รุนแรงที่สุดไว้ต่อท้ายชั้นความเหมาะสมของดินหลัก

                  ลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ ของดินที่น ามาใช้เป็นข้อก าหนดในการจ าแนกความเหมาะสมของดินส าหรับ
                  การปลูกพืชเศรษฐกิจ สรุปได้ดังนี้

                                          1.3.1) สภาพพื้นที่ (t : topography) แบ่งเป็น 6 ชั้นดังนี้
                                                (1) ราบเรียบถึงค่อนข้างราบเรียบ (level  to  nearly  level)  ความ

                  ลาดชัน 0-2 เปอร์เซ็นต์

                                                (2) ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย (slightly  undulating) ความลาดชัน
                  2-5 เปอร์เซ็นต์

                                                (3) ลูกคลื่นลอนลาด (undulating) ความลาดชัน 5-12 เปอร์เซ็นต์

                                                (4) ลูกคลื่นลอนชัน (rolling) ความลาดชัน 12-20 เปอร์เซ็นต์
                                                (5) เนินเขา (hilly) ความลาดชัน 20-35 เปอร์เซ็นต์

                                                (6) พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อนหรือพื้นที่ลาดชันสูง (slope  complex  หรือ
                  steep slope) ความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้ 3 ระดับ ดังนี้

                                                    (6.1) พื้นที่สูงชัน (steep slope) ความลาดชัน 35-50 เปอร์เซ็นต์
                                                    (6.2) พื้นที่สูงชันมาก (very steep slope) ความลาดชัน 50-75

                  เปอร์เซ็นต์

                                                    (6.3) พื้นที่สูงชันมากที่สุด (extremely steep slope) ความลาด
                  ชันมากกว่า 75 เปอร์เซ็นต์

                                          1.3.2) เนื้อดิน (s : soil texture) หรือ ชั้นอนุภาคของดิน (s : particle size
                  class) แยกพิจารณาดังนี้
                                                (1) เนื้อดินบนเฉลี่ยในช่วงความลึก 25 เซนติเมตร (surface texture)

                  ใช้พิจารณาส าหรับพืชที่มีระบบรากตื้นแบ่งเป็น 12 ชั้น ดังนี้
                                                   (1.1) ดินทราย (S : sand)
                                                   (1.2) ดินทรายปนดินร่วน (ls: loamy sand)
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32