Page 155 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองกระทือ ลำดับที่ พช.7 (2556) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำป่าสักส่วนที่ 3 (รหัส 1205) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำป่าสัก (รหัส 12) พื้นที่ดำเนินการบ้านเขารวก หมู่ที่ 8 ตำบลกันจุ และบ้านวังไลย์ หมู่ที่ 1 ตำบลสระแก้ว อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 155

115


                                              (2.1) ใช้วัสดุคลุมดิน เช่น ฟางข้าว เศษหญ้า หรือตอซังข้าวโพด ข้าวฟ่าง
                  คลุมผิวดินระหว่างแถวพืช
                                              (2.2) ปลูกพืชคลุมดินในสวนไม้ผลหรือไม้ยืนต้น นอกจากนี้ยังต้องพัฒนา

                  แหล่งน้ าให้เพียงพอส าหรับการปลูกพืชในช่วงฤดูแล้งด้วย
                                    3) ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า  มีเนื้อที่ 2,817 ไร่ หรือร้อยละ 5.3712 ของ
                  พื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน เนื่องจากดินมีแร่ธาตุอาหารตามธรรมชาติน้อย ประกอบกับเกษตรกรมีการใช้

                  ประโยชน์ที่ดินอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน โดยไม่ได้มีการปรับปรุงบ ารุงดินเท่าที่ควร ท าให้ดิน

                  เสื่อมโทรมเป็นผลให้พืชเจริญเติบโตช้า ผลผลิตตกต่ า
                                       3.1) ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ าในพื้นที่ลุ่ม ได้แก่ หน่วยแผนที่ 17  มีเนื้อที่

                  2,486 ไร่ หรือร้อยละ 4.7401 ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน
                                       3.2) ปัญหาดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ าในพื้นที่ดอน ได้แก่ หน่วยแผนที่ 36B มีเนื้อ

                  ที่ 331 ไร่ หรือร้อยละ 0.6311 ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน
                                        แนวทางการแก้ไข

                                            (1) การจัดการดินในพื้นที่ลุ่ม

                                               (1.1) การปลูกข้าว
                                               - เตรียมพื้นที่ปลูกโดยไถพรวนขณะที่ดินมีความชื้นที่เหมาะสมปรับปรุง

                  ดินด้วยอินทรียวัตถุ เช่น ไถกลบตอซัง ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 2-3 ตันต่อไร่ ปล่อยทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์

                  หรือ ก่อนปลูกหว่านเมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสด แล้วไถกลบเมื่ออายุ 50-70 วัน แล้วจึงปลูกข้าวเพื่อเพิ่มธาตุอาหาร
                  พืช ช่วยให้ดินร่วนซุย และข้าวมีการแตกกอดีขึ้น ถ้าดินเป็นกรดจัดมากปรับปรุงโดยการไถคลุกเคล้าวัสดุปูน

                  อัตรา 200-300 กิโลกรัมต่อไร่ ทิ้งไว้ 15 วันก่อนปลูก ใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ าร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อเพิ่มธาตุอาหารพืช
                  ตามค าแนะน าที่ได้จากการน าดินไปวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ

                                               (1.2) การปลูกพืชไร่ ไม้ผล หรือไม้ยืนต้น
                                               - กรณีปลูกในช่วงฤดูแล้งหรือหลังจากปลูกข้าว ควรปรับสภาพพื้นที่โดย

                  ยกร่องแบบเตี้ยหรือท าร่องระบายน้ าระหว่างแปลงเพื่อป้องกันน้ าท่วมขังในฤดูฝน  หรือถ้าต้องการเปลี่ยน

                  จากสภาพพื้นที่นามาปลูกพืชไร่อย่างถาวร ควรสร้างคันดินอัดแน่นล้อมรอบพื้นที่ ยกร่องแบบถาวรให้มีสัน
                  ร่องกว้าง 6-8 เมตร โดยให้สันร่องสูงกว่าระดับน้ าที่เคยท่วมถึง มีคูระบายน้ ากว้าง 1-1.5 เมตร ลึก 0.5-1

                  เมตร ปรับปรุงบ ารุงดินด้วยการไถกลบพืชปุ๋ยสด  ไถกลบเมื่ออายุ  50-70  วันหลังปลูกหรือออกดอก  50

                  เปอร์เซ็นต์ หรือไถกลบปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกอัตรา 1-2 ตันต่อไร่ ปล่อยทิ้งไว้ 1-2 สัปดาห์ ในพื้นที่ที่ดินเป็น
                  กรดจัดมาก ใช้วัสดุปูน 200-300 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ 0.5-1.0 กิโลกรัมต่อหลุม เพื่อเพิ่มความเป็นประโยชน์

                  ของธาตุอาหารในดินถ้าปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น  ควรขุดหลุมปลูกขนาด  50x50x50  เซนติเมตร  และ
                  ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา  15-25  กิโลกรัมต่อหลุม ใส่ปุ๋ยเคมีตามชนิดพืชที่ปลูก

                  ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ า ร่วมกับการใช้วัสดุปูนถ้าดินเป็นกรดเพิ่มขึ้นพัฒนาแหล่งน้ า และระบบการให้น้ า
                  ในแปลงปลูกพืช ไว้ใช้ในช่วงที่พืชขาดน้ า
   150   151   152   153   154   155   156   157   158   159   160