Page 153 - รายงานการสำรวจดินเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำคลองกระทือ ลำดับที่ พช.7 (2556) ลุ่มน้ำสาขาแม่น้ำป่าสักส่วนที่ 3 (รหัส 1205) ลุ่มน้ำหลักแม่น้ำป่าสัก (รหัส 12) พื้นที่ดำเนินการบ้านเขารวก หมู่ที่ 8 ตำบลกันจุ และบ้านวังไลย์ หมู่ที่ 1 ตำบลสระแก้ว อำเภอบึงสามพัน จังหวัดเพชรบูรณ์
P. 153

113


                                7.2.11  ปัญหาทรัพยากรดินและแนวทางแก้ไข
                                   จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลทรัพยากรดินบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ าคลองกระทือ จังหวัด

                  เพชรบูรณ์ สามารถสรุปปัญหาทรัพยากรดินในพื้นที่พร้อมทั้งแนวทางการแก้ไขปัญหาไว้ดังนี้ (ภาพที่ 21)
                                    1) ปัญหาดินตื นปนเศษหิน และดินตื นถึงชั นหินพื น  มีเนื้อที่ 16,176 ไร่ หรือร้อยละ

                  30.8432 ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน ชั้นของเศษหิน ลูกรังหรือชั้นหินพื้นเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของราก

                  พืช ท าให้พืชเจริญเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร
                                       1.1) ปัญหาดินตื้นถึงเศษหิน ก้อนกรวด ได้แก่ หน่วยแผนที่ 48B มีเนื้อที่ 11,512

                  ไร่ หรือร้อยละ 21.9502 ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน

                                       1.2) ปัญหาดินตื้นถึงชั้นหินพื้น ได้แก่ หน่วยแผนที่ 47B  47C  47D  และ 47E มี
                  เนื้อที่ 4,664 ไร่ หรือร้อยละ 8.8930 ของพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน

                                        แนวทางการแก้ไข
                                            (1) การจัดการดินตื้นหรือตื้นมากถึงลูกรังและเศษหินเป็นชั้นหนา พบในพื้นที่

                  ดอนเขตความชื้นดินแบบที่ดินแห้งติดต่อกันนาน
                                               (1.1) การปลูกพืชไร่

                                               - เลือกพื้นที่ที่มีหน้าดินหนามากกว่า 25 เซนติเมตร จัดระบบการปลูก
                  พืชหมุนเวียนตลอดทั้งปีโดยให้มีการปลูกพืชบ ารุงดินร่วมอยู่ด้วยปรับปรุงบ ารุงดินและความอุดมสมบูรณ์

                  ของดิน โดยการไถคลุกเคล้าปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา 2-4 ตันต่อไร่ หรือปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม
                  หรือปอเทืองโดยหว่านเมล็ดถั่วพร้าอัตรา 10-12 กิโลกรัมต่อไร่ เมล็ดถั่วพุ่มอัตรา 8-10 กิโลกรัมต่อไร่ หรือ
                  ปอเทือง อัตรา 6-8 กิโลกรัมต่อไร่ แล้วไถกลบในระยะออกดอก ปล่อยไว้ 1-2 สัปดาห์ ก่อนปลูกพืชในพื้นที่
                  ที่มีความลาดชัน ควรมีมาตรการอนุรักษ์ดินและน้ าที่เหมาะสม เช่น การไถพรวนและปลูกพืชตามแนวระดับ

                  ขวางความลาดชัน ท าแนวรั้วหญ้าแฝก เพื่อช่วยชะลอความเร็วของน้ าบนผิวหน้าดิน การปลูกพืชหมุนเวียน
                  การปลูกพืชสลับเป็นแถบหรือโดยวิธีกลร่วมกับวิธีพืช พัฒนาแหล่งน้ าเสริมในการเพาะปลูก และเลือกปลูก
                  พืชที่มีระบบรากตื้น
                                               (1.2) การปลูกไม้ผลหรือไม้ยืนต้น

                                               - ขุดหลุมปลูกขนาด 75x75x75 เซนติเมตร ปรับปรุงหลุมปลูกด้วยหน้า
                  ดินที่ไม่มีลูกรัง ก้อนกรวดและก้อนหินร่วมกับการใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกอัตรา 25-50 กิโลกรัมต่อหลุม ถ้า
                  ดินเป็นกรดจัด  ปรับปรุงโดยการใช้วัสดุปูน  เช่นปูนขาว  หว่านให้ทั่วแปลงพร้อมปุ๋ยอินทรีย์  ไถกลบแล้ว

                  ปล่อยที่ไว้ประมาณ 20 วันก่อนปลูกพืชใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ า ร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีในอัตราที่เหมาะสมตามชนิด
                  พืชที่ปลูกในช่วงการเจริญเติบโต  ก่อนและหลังเก็บผลผลิตบริเวณที่มีความลาดชันสูง  ควรมีการจัดระบบ
                  อนุรักษ์ดินและน้ าอย่างเหมาะสม เช่น การสร้างคันดิน การท าขั้นบันไดดิน ท าคูน้ าขอบเขา ท าฐานปลูก

                  เฉพาะต้น ปลูกพืชคลุมดิน ใช้วัสดุคลุมดิน ท าแนวรั้วหญ้าแฝก หรือปลูกพืชแซมระหว่างแถวไม้ผลหรือไม้
                  ยืนต้น พัฒนาแหล่งน้ าและจัดระบบการให้น้ าในพื้นที่ปลูก
                                            (2) การจัดการดินตื้นหรือตื้นมากถึงชั้นหินพื้น พบในพื้นที่ดอนเขตความชื้น

                  ดินแบบที่ดินแห้งติดต่อกันนาน
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158